5 กลวิธีในการปรับเปลี่ยนฝ่ายทรัพยากรบุคคล จากการเป็นหน่วยงานใช้งบประมาณ(Cost Centre) สู่การเป็นหน่วยงานสร้างรายได้ (Profit Centre)

พฤศจิกายน 17, 2558 ความรู้เชิงลึกด้านทรัพยากรบุคคล
5 กลวิธีในการปรับเปลี่ยนฝ่ายทรัพยากรบุคคล จากการเป็นหน่วยงานใช้งบประมาณ(Cost Centre) สู่การเป็นหน่วยงานสร้างรายได้ (Profit Centre)

 

หน่วยงานทรัพยากรบุคคลมักถูกมองว่าเป็นหน่วยงานใช้งบประมาณ (Cost center) เพราะหากมองในทางเทคนิค ฝ่ายนี้ไม่ได้สร้างรายได้โดยตรงให้กับองค์กร อย่างไรก็ดี หากองค์กรยกเลิกงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลออกไป องค์กรจะได้รับผลกระทบในการบริหารงานสำคัญหลักอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการสรรหาและจัดจ้าง การรักษาพนักงาน และการฝึกอบรมพนักงาน ซึ่งจะกลายเป็นความท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง

 

ไม่ว่าการทำงานของหน่วยงานที่หารายได้เข้าบริษัทหรือที่เรียกว่า หน่วยงานสร้างรายได้

(Profit centre) จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงเพียงใดก็ตาม หากไม่มีหน่วยงานสนับสนุนหลักเช่นฝ่ายทรัพยากรบุคคล ประสิทธิภาพของหน่วยงานสร้างรายได้นั้นย่อมสะดุดหยุดลงอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากการบัญญัติศัพท์ทางการบัญชีจะมีการแบ่งหน่วยงานในการดำเนินธุรกิจออกเป็นฝ่ายสร้างรายได้และฝ่ายทำให้เกิดค่าใช้จ่าย ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมักถูกมองว่าเป็นหน่วยงานที่มีแต่ค่าใช้จ่าย หรือเป็นหน่วยงานใช้งบประมาณเสมอ แม้ว่าตามความเป็นจริงทุกคนทุกหน่วยงานทำงานเป็นทีมงานเป็นองค์กรเดียวกัน แต่เมื่อพูดถึงความสำเร็จโดยรวมของธุรกิจ และทุกหน่วยงานมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพทางการเงินของบริษัท หน่วยงานต่างๆเช่น      ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมักจะถูกบดบังรัศมีด้วยการรับรู้ที่ไม่ถูกต้อง

 

อย่างไรก็ดี หากสามารถทำให้งานด้านต่างๆของฝ่ายทรัพยากรบุคคลภายในบริษัทเป็นงานที่ก่อให้เกิดรายได้และแสดงให้เห็นว่างานด้านต่างๆเหล่านั้นส่งผลกระทบและเพิ่มมูลค่าต่อผลลัพธ์ทางการเงินขององค์กรได้อย่างไรบ้าง ฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็จะสามารถเปลี่ยนจากการเป็นหน่วยงานใช้งบประมาณให้กลายเป็นหน่วยงานสร้างรายได้อย่างง่ายดาย และต่อไปนี้คือแง่คิดบางอย่างที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นได้

 

 

 

แล้วกระบวนการนี้เริ่มต้นอย่างไรล่ะ? สิ่งแรกคือเริ่มต้นด้วยการแสดงให้เห็นอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (Return on    Investment หรือ ROI) ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่มีต่อบริษัท    ขออธิบายเพิ่มเติมว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนนั้นหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้คืนมาเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการลงทุน ตัวอย่างเช่น จ่ายเงิน $1,000 ลงทุนกับโปรแกรมการฝึกอบรม และฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้จัดให้มีการฝึกอบรมพัฒนาทักษะใหม่ๆให้แก่พนักงานที่มีอยู่ ช่วยลดความจำเป็นในการใช้จ่ายเงิน $3000 สำหรับจ้างพนักงานใหม่เข้ามา ดังนั้นผลต่างจำนวน $2000 คิดเป็นอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนที่ได้รับ

 

นั่นก็เป็นตัวอย่างง่ายๆ แต่ความคิดหลักที่ต้องการนำเสนอก็คือ หากสามารถแสดงหลักฐานให้เห็นได้ว่า ฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั้นได้เพิ่มคุณค่าให้กับบริษัท ผลที่ได้นั้นไม่เพียงแต่จะทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นฝ่ายที่ไม่ได้รับผลกระทบในช่วงเวลาที่บริษัทประสบปัญหาให้การดำเนินงาน แต่จะช่วยส่งผลให้ได้รับงบประมาณที่สูงขึ้นสำหรับโครงการในอนาคตอีกด้วย

 

อย่างไรก็ดี ปัญหาอย่างหนึ่งในการแสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน หรือ ROIs นั้น มีบ่อยครั้งที่หลักฐานหรือบทพิสูจน์นั้นจะถูกสร้างขึ้นในรูปแบบ สหสัมพันธ์ (correlations) หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น  มากกว่าเหตุและผลกระทบที่ได้รับโดยตรง นับเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กิจกรรมของฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้มีส่วนช่วยในการเพิ่มผลผลิต ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้วิธีนี้เป็นเพียงหนึ่งในวิธีการที่จะแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของหน่วยงานที่สำคัญนี้

 

 

 

        

 

หนึ่งในปัญหาที่หลายแผนกมักประสบคือการขาดทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี สำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล การตรวจสอบหรือทำความรู้จักพนักงานเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย ก็จะสามารถค้นพบทรัพยากรเป็นจำนวนมากในรูปแบบของพนักงานที่มีอยู่ในองค์กรนั่นเอง

 

ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถดึงเอาความสามารถของพนักงานที่มีอยู่ มาใช้ปรับปรุงด้านการบริหารจัดการทุนมนุษย์ (human capital management) และการพัฒนาความสามารถขององค์กร (organisational development) ซึ่งก็มีมุมมองสองด้านในหลักการนี้ ประการแรก เมื่อต้องการสรรหาผู้สมัครที่มีความสามารถสูงใช้ระบบ Employee Referral Program (ERP) หรือการให้พนักงานในองค์กรแนะนำผู้สมัครเพื่อช่วยระบุและดึงดูดคนเก่งๆเข้ามาทำงาน

 

การใช้เวลาเพิ่มเล็กน้อยเพื่อดำเนินการสำรวจทักษะและความสนใจของพนักงาน จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก ฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็จะมี แคตตาล็อกที่รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับทักษะ ความถนัดของทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ หากหน่วยงานใดต้องการ ก็จะสามารถดึงข้อมูลบุคลากรที่มีทักษะเหล่านี้มาใช้ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพตามที่ต้องการได้ นับได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อพนักงานขององค์กรโดยเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้ทักษะ และ ขัดเกลาความสามารถที่ยังไม่เคยได้รับการพัฒนา ทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมคุณค่าของตัวบุคคลในองค์กรและเพิ่มความสามารถให้เป็นที่ยอมรับภายในบริษัทด้วย

 

 

 

 

สิ่งหนึ่งทีต้องตระหนักชัดคือ การฝึกอบรมพนักงานและการพัฒนาความชำนาญในสายอาชีพนั้นมีค่าใช้จ่าย แต่ก็ทำให้ได้บางสิ่ง 'แทนคุณกลับมาให้’ อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมของพนักงาน ย่อมช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ยิ่งไปกว่านั้น ความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์กร และผลการปฏิบัติงานของพวกเขานั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ถึง ความมั่นคงในหน้าที่การงานและคุณค่าของตัวเขาในองค์กรในอนาคต ซึ่งเป็นสองตัวแปรที่สำคัญที่เป็นจุดประสงค์สำคัญของการฝึกอบรมและการสอนงานที่ช่วยให้พนักงานได้รู้ว่าตนเองมีศักยภาพอะไรบ้าง

 

การจัดให้มีการฝึกอบรมกันเองภายในองค์กร เท่ากับเป็นการสร้างแรงจูงใจเชิงบวกที่มีความหมายมีความสำคัญสำหรับพนักงาน และในขณะเดียวกันก็สามารถตัดทอนค่าใช้จ่ายจากการนำเอาผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกสอนจากภายนอกออกไป การฝึกอบรมในลักษณะนี้ สามารถทำได้โดยใช้รูปแบบ      พี่เลี้ยง (Mentoring programme) ซึ่งหมายถึงให้พนักงานที่มีประสบการณ์สูงแนะนำแนวทางต่างๆ ในการทำงาน หรือแม้กระทั่งการจัดอบรมด้านสื่อ โดยให้ฝ่ายสื่อสารองค์กรช่วยดำเนินการอบรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน่วยงานที่ถูกเรียกว่าหน่วยงานใช้งบประมาณ เมื่อสามารถชดเชยค่าใช้จ่ายบางส่วนของ หน่วยงานตนด้วยการสร้างรายได้อย่างสร้างสรรค์โดยไม่คาดคิด หน่วยงานนั้นก็จะไม่เป็นหน่วยงานใช้งบประมาณอีกต่อไป วิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ก็คือ การคิดค่าบริการกลับไปยังหน่วยงานอื่นๆในการให้บริการ  เคล็ดลับคือการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้ลองนึกว่ามีงานใดบ้างของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่หากไม่ทำแล้วบริษัทต้องเสียค่าใช้จ่าย และให้คิด 'ค่าใช้จ่าย' กับหน่วยงานต่างๆนั้นในอัตราที่ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยให้ต่ำกว่าจำนวนที่พวกเขาจะต้องจ่ายให้กับบริษัทที่ให้บริการหรือบริษัท คู่ค้าจากภายนอกองค์กร (outsourced) และด้วยวิธีนี้ หน่วยงานต่างๆก็จะได้รับสิ่งที่พวกเขาต้องการ ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่างบประมาณที่คาดไว้

 

งานที่สามารถทำได้ตามที่กล่าวข้างต้น อาทิเช่น การฝึกอบรม การวางแผนสืบทอดตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ การแก้ปัญหาความขัดแย้งภายใน การวิเคราะห์ค่าตอบแทน และการสำรวจความคิดเห็นพนักงาน นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าฝ่ายทรัพยากรบุคคลภายในสามารถทำงานเหล่านี้ได้ดีกว่าจ้างบุคคลภายนอกเข้ามาทำแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือยังแสดงให้เห็นว่า การทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ไม่ทำให้เกิดค่าใช้จ่าย หรือ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหน่วยงานที่ทำกำไรให้กับองค์กรด้วย  แม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว รายได้ลักษณะนี้เป็นรายได้เสมือนจริง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการโอนย้ายการจัดสรรงบประมาณจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งแทนการจ่ายด้วยเม็ดเงินอย่างแท้จริง ซึ่งนับว่าเป็นรายได้อยู่ดี หากคุณสามารถทำรายได้ชดเชยในจำนวนที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดของฝ่ายได้ ฝ่ายของคุณก็ไม่ใช่หน่วยงานใช้งบประมาณอีกต่อไป!

 

 

 

 

 

 

อีกวิธีหนึ่งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถสร้างผลกระทบได้อย่างมีนัยสำคัญในความสำเร็จโดยรวมของธุรกิจคือการตัดค่าใช้จ่ายให้ลดลง ฟังดูแล้วเหมือนเป็นการใช้มาตรการรัดเข็มขัด หรือการลดการใช้จ่ายโดยทั่วๆไป แต่การใช้วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องกระทบต่อพนักงาน สิ่งที่จะได้รับผลกระทบ คือการปรับปรุงให้กระบวนการการทำงานกระฉับกระเฉงลื่นไหลมากขึ้น เจรจาตกลงกับผู้ผลิต(Supplier) อีกครั้งให้ได้ข้อตกลงที่ดีขึ้น หรือเพียงแค่ปรับวิธีการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การดำเนินงานใดที่ประหยัดค่าใช้จ่ายจะช่วยเพิ่มมูลค่าของฝ่ายทรัพยากรบุคคลมากขึ้นไปด้วย

 

หนึ่งในข้อดีของฝ่ายทรัพยากรบุคคลคือ สามารถนำประโยชน์จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย เพื่อทดแทนการทำงานที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับงานที่เคยจ้างพนักงานภายนอกและคู่ค้าด้านการสรรหากำลังคนเป็นผู้ดำเนินการ โดยหันไปใช้สื่อสังคมออนไลน์มาช่วยปรับให้ภาพลักษณ์บริษัท “ดูดี” ขึ้นในสายตาของผู้มองหางานที่มีความสามารถให้อยากมาร่วมงานกับบริษัท

 

นี่เป็นเพียง 5 วิธีที่ช่วยทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถปรับเปลี่ยนจากการเป็นหน่วยงานใช้งบประมาณให้กลายเป็นหน่วยงานสร้างรายได้แท้จริงแล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการรับรู้และสร้างความเข้าใจการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลเสียใหม่เพื่อแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถดำเนินบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ และมีความสามารถในการสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้เช่นกัน

 

 

 

 

 

อเด็คโก้ประเทศไทย เป็นผู้นำและเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ เกี่ยวกับงานทรัพยากรบุคคล ไม่ว่าจะเป็นด้าน การสรรหาพนักงานและการจัดจ้างพนักงานประจาและชั่วคราว การให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล การฝึกอบรม การพัฒนาบุคลากร และบริการให้คำปรึกษาด้านสายอาชีพ

 

ด้วยประสบการณ์กว่า 26 ปีในประเทศไทย บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาระบบเครือข่าย และ ความเชี่ยวชาญ ชำนาญด้านงานบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบริษัทต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบไปด้วย 10 กลุ่มธุรกิจ โดยมีบุคลากรของบริษัทฯ กว่า 10,000 คน ปฏิบัติ หน้าที่ในบริษัทต่าง ๆ ในแต่ละวัน ภายใต้ระบบโครงสร้างภายในอันแข็งแรงด้วยการปฏิบัติงานของพนักงาน กว่า 200 คน

 
ดาวน์โหลดฉบับเต็ม

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.adecco.co.th