5 กลยุทธ์พาองค์กรฝ่าวิกฤต COVID-19

เมษายน 10, 2563 ความรู้เชิงลึกด้านทรัพยากรบุคคล
5 กลยุทธ์พาองค์กรฝ่าวิกฤต COVID-19
การระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นความต้องการซื้อที่ลดลง ผู้บริโภคจะใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเพื่อเก็บเงินสำรองเอาไว้ หลายบริษัทต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับการเงิน จนอาจต้องปลดพนักงานออกจำนวนมาก โดยผลกระทบจากวิกฤตนี้ Mckinsey คาดว่าน่าจะยืดเยื้อและอาจใช้เวลาเป็นปีในการฟื้นตัว กว่าจะกลับสู่ภาวะปกติก็อาจลากยาวถึงปี 2021

ในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรต้องวางแผนรับมืออย่างรัดกุมเพื่อที่จะพาธุรกิจ ฝ่าวิกฤต COVID-19 ไปให้ได้ เราได้สรุปคำแนะนำ Mckinsey กับกลยุทธ์ 5 ข้อที่จะช่วยพาองค์กรฝ่าวิกฤต COVID-19

 

องค์กรต้องทำอะไรบ้างเพื่อรับมือวิกฤต COVID- 19

1. ดูแลและปกป้องพนักงาน (Workforce Protection)

วิกฤต COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและวิถีชีวิตของผู้คนมากมาย รวมถึงกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรอย่าง “พนักงาน” ด้วยค่ะ สิ่งที่จะช่วยลดความกังวล และให้ความรู้สึกมั่นคงต่อพนักงานก็คือ การออกนโยบายประกาศสถานการณ์ของบริษัท รวมถึงมาตรการรับมือกับสถานการณ์พร้อมกับการให้ความช่วยเหลือที่จะให้ต่อพนักงานได้ เช่น มาตรการดูแลสุขอนามัยของพนักงาน มาตรการ work from home และ social distancing เป็นต้น


นอกจากนี้การสื่อสารจากฝั่งองค์กรอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อสถานการณ์นี้ผ่านช่องทางที่เหมาะสม หรืออาจจำเป็นต้องมีแผนกที่คอยสื่อสารเรื่องนี้โดยเฉพาะเลยค่ะ เพื่อที่องค์จะได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที เช่น คนที่คอยส่งข่าวเกี่ยวกับ COVID-19 รายวัน คนที่พูดคุยกับพนักงานเรื่องปัญหานี้โดยเฉพาะ หรือมีช่องทางให้พนักงานสามารถโทรคุย หรือ Video Conference กับคนที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงได้

สรุปเช็คลิสต์ด้านการดูแลและปกป้องพนักงาน

  • ออกนโยบ้ายป้องกันการระบาดของโรค รวมถึงวิธีรับมือหากมีผู้ติดเชื้อ
  • มีการสื่อสารแบบสองทางกับพนักงาน
  • เตรียมพร้อมการ Work from home
  • มาตรการสำหรับพนักงานที่จำเป็นต้องมาปฏิบัติงาน เช่น การแบ่งกะ การรักษาระยะห่าง
  • ให้ความร่วมมือกับประกาศและนโยบายจากภาครัฐและสาธาณสุข

Social Distancing at Work


2. ให้ความสำคัญกับระบบ Supply-chain

สิ่งหนึ่งที่องค์กรไม่ควรชะล่าใจก็คือเรื่อง Supply-Chain ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 นี้ สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงได้ชัดเลยคือ บางพื้นที่ที่ประสบกับการระบาดอย่างหนักอาจจะผลิตสินค้าไม่ได้ การขนส่งอาจมีความล่าช้า ในช่วงนี้องค์กรควรมีแผนสำรอง หาฝ่ายจัดส่งสินค้าหลายเจ้า สำรองเอาไว้ รวมถึงการวางแผนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า หากคุณเป็นบริษัทที่จัดจำหน่ายสินค้าจำเป็นในช่วง COVID-19 ก็ต้องวางแผนการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อการความต้องการ ป้องกันการกักตุนสินค้า หรือถ้าคุณไม่ใช่องค์กรที่จำหน่ายสินค้าจำเป็นในช่วงนี้ ก็ยังต้องวางแผนเกี่ยวกับการผลิต และประเมินความต้องการของผู้บริโภคค่ะ เผื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ เราก็ต้องมีสินค้ารองรับความต้องการ รวมถึงมีกำลังคนมากพอที่จะผลิตสินค้าได้


3. ตอบโจทย์ลูกค้าให้มากขึ้น

เหมือนว่าบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้แบบเต็มๆ มักจะทำข้อนี้ได้ดีค่ะ เพราะเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ก็ต้องจำเป็นที่จะต้องดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด และหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความปลอดภัยและลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากการซื้อสินค้า อย่างเช่นในประเทศจีน แม้ว่าความต้องการของลูกค้าที่จะมาหน้าร้านน้อยลง แต่ความต้องการซื้อจริงๆ ไม่ได้น้อยลงตาม เพียงแค่เปลี่ยนช่องทางการซื้อขายไปทางออนไลน์ และส่งเดลิเวอรี่แทน โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเดินออกนอกบ้าน หรือบางบริษัทก็เลือกที่จะเปลี่ยนมาผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับตัวมาผลิตแอลกอฮอล์เจลแทนไลน์สินค้าเดิม เป็นต้น

อีกแนวทางที่คุณสามารถทำได้ เช่น การสร้าง microsite หรือใช้ช่องทาง social media เพื่อสื่อสารกับลูกค้าโดยเฉพาะ ทั้งการแจ้งรายการสินค้า โปรโมชันดีๆ หรือประกาศสำคัญต่างๆ จากองค์กร ให้ลูกค้าได้รับทราบ และที่สำคัญต้องไม่ลืมสื่อสารถึงแนวทางปกป้องและป้องกันลูกค้าจากโควิด-19 ด้วยค่ะ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าการซื้อสินค้าหรือการใช้บริการต่างๆ จะปลอดภัยจากโรคโควิด-19

หรือหากเป็นการทำธุรกิจแบบ B2B ก็ต้องเตรียมการสื่อสารในภาวะวิกฤตให้ลูกค้าเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ และสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการทำธุรกิจร่วมกัน

สรุปเช็คลิสต์ด้าน Customer Engagement

  • สื่อสารกับลูกค้า B2B อย่างโปร่งใสถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ตอนนี้ วางแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤต
  • ปกป้องลูกค้า ทุกขั้นตอนการผลิตและการซื้อขายต้องมั่นใจว่าปลอดภัยปราศจากจากโรค ตลอดทั้ง customer journey
  • มีการสื่อสารถึงแนวทางปกป้องและป้องกันลูกค้าจากโควิด-19

Food delivery at home


4. รัดเข็มขัด ปรับแผนการเงินสู้วิกฤต

ปัญหาใหญ่ที่ตามมาแน่ๆ จากวิกฤต COVID-19 ก็คือเรื่องการเงินค่ะ เพื่อให้เรารับมือได้ทันกับปัญหาการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ องค์กรควรทดลองประเมินสถานการณ์โดยการอ้างอิงจากเหตุการณ์วิกฤตของโรคระบาดที่ผ่านๆ มาว่ามีลักษณะอย่างไร และร่างแผนการเงินออกมา และให้ลองลิสต์ว่า อะไรเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อรายได้และวิเคราะห์ความน่าจะเป็นออกมา รวมถึงวางแผนวิธีการใช้เงินให้เหมาะสมในช่วงวิกฤต ว่าควรใช้จ่ายอย่างไร เพื่อให้การเงินเรามีสภาพคล่องต่อไปได้อีกยาวนาน งบอะไรที่เราต้องตัดออก เพื่อสร้างความสมดุลให้กับการเงิน

สรุปเช็คลิสต์ด้านการเงิน

  • ประเมินสถานการณ์ภาพรวม การระบาดของโรคและผลกระทบทางเศรษฐกิจ
  • ทำ Financial stress test

5. มีศูนย์กลางการสั่งงานที่ชัดเจน

การขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันในสภาวะวิกฤตถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างหนึ่ง ดังนั้น สิ่งที่จะคอยควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปในแบบแผนเดียวกันก็คือการแบ่งงานและกำหนดอำนาจในการตัดสินใจให้ชัดเจน แบ่งให้ชัดเรื่องไหนใครตัดสินใจ โดยทางที่ดีที่สุดควรมีคนตัดสินใจเพียงคนเดียวในเรื่องนั้นๆ และมีแนวทางการดำเนินการในการรับมือแต่ละเฟสอย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถทำงานและแก้ไขปัญหาได้อย่างไม่ติดขัด มีการจัดประชุมหัวหน้าทีมเพื่อติดตามและแชร์แนวทางแก้ไขปัญหา โดยคำนึงที่ผลลัพธ์เป็นหลัก ให้ทุกคนมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้การประชุมเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

สรุปเช็คลิสต์ด้านการบริหารในภาวะวิกฤต

  • มีศูนย์กลางการสื่อสารการตัดสินใจที่แหล่งเดียวหรือคนเดียวในการแก้ปัญหา เพื่อป้องกันการสับสนของข้อมูล
  • แบ่งงานชัดเจนใครทำอะไร ใครตัดสินใจ
  • จัดประชุมหัวหน้าทีมเพื่อติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาให้ไปในทิศทางเดียวกัน

สิ่งสำคัญในช่วงวิกฤตนี้ก็คือการปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์ หากปรับตัวได้ เราเชื่อว่า ทุกองค์กระจะสามารถประคองตัวฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไม่ได้อย่างแน่นอน อย่าลืมว่า ทุกวิกฤต ย่อมมีโอกาสอยู่เสมอ


ที่มา: MCkinsey




เกี่ยวกับ Adecco 

Adecco เป็น Recruitment Agency ที่ให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและบริการด้าน recruitment แบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งบริการสรรหาพนักงานประจำและบริการสรรหาพนักงานสัญญาจ้างชั่วคราว รวมถึงบริการ executive search สรรหาผู้บริหารให้องค์กร 

  • ลูกค้าองค์กรที่สนใจสามารถติดต่อรับคำปรึกษาจาก recruitment consultant ของเรา ที่ webmaster@adecco.co.th หรือติดต่อ Adecco สาขาใกล้คุณ โดยทางเราเราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด