ประเทศไทยติดอันดับที่ 73 ในดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันการผลิต ดึงดูด และรักษาคนเก่งทั่วโลก ปี 2017

มกราคม 24, 2560 ข่าวประชาสัมพันธ์

INSEAD (Institut Européen d'Administration des Affaires) มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านธุรกิจระหว่างประเทศ) ได้แถลงผลดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันการผลิต ดึงดูด และรักษาคนเก่งทั่วโลก (Global Talent Competitiveness Index - GTCI) ครั้งที่ 4 ในวันนี้ ซึ่งเป็นการสำรวจและศึกษาร่วมกันระหว่างกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ และ สถาบันพัฒนาความเป็นผู้นำด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Leadership Institute -HCL) ของประเทศสิงคโปร์

 

สวิตเซอร์แลนด์ ยังคงครองอันดับ 1 ในดัชนีเป็นปีที่สองติดต่อกัน เช่นเดียวกับสิงคโปร์ซึ่งรักษาอันดับ 2 ไว้ได้ โดยมีประเทศจากกลุ่มประเทศนอร์ดิก 4 ประเทศ (สวีเดน, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์ และนอร์เวย์) ติด 10 อันดับแรกด้วย ขณะที่อันดับสูงสุดอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลง โดยอังกฤษเลื่อนขึ้นมาอยู่อันดับ 3 ตามด้วยสหรัฐ ที่ครองอันดับ 4 และสวีเดนอยู่ที่อันดับ 5 และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย ไทยอยู่ในอันดับกลางๆที่อันดับที่ 73 โดยมาเลเซียครองอันดับที่ 28 ฟิลิปปินส์อยู่อันดับที่ 52 ขณะที่เวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชายังคงตามหลังไทย โดยอยู่ที่อันดับ 86, 90 และ 108 ตามลำดับ

 

สิงคโปร์ยืดหยัดในตำแหน่งผู้นำความมีศักยภาพทั้งในระดับโลก (อันดับที่ 2) และระดับภูมิภาค (อันดับที่ 1)  เป็นครั้งที่ 4 ตามมาด้วยออสเตรเลีย (อันดับที่ 6) และนิวซีแลนด์ (อันดับที่ 14) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนียได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่หลากหลายในการผลิต ดึงดูด และรักษาคนเก่งได้เป็นอย่างดี ญี่ปุ่นซึ่งครองอันดับที่ 22 ในระดับโลก หรืออันดับที่ 4 ในระดับภูมิภาค มีความสามารถโดยรวมที่แข็งแกร่ง แม้ว่าจะร่วงลงไปจากที่ 19 เมื่อปีที่แล้วก็ตาม แต่ญี่ปุ่นเองก็มีสิ่งที่ต้องปรับปรุงคือเรื่องความสามารถในการดึงดูดคนเก่ง (ได้อันดับที่ 51) เช่นเดียวกับสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) (อันดับที่ 28 ในระดับโลก หรือ อันดับ 6 ในระดับภูมิภาค) ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษาสูงเป็นอันดับสองของโลก (2) และเป็นประเทศที่มีสภาวะแวดล้อมทางการตลาดที่เอื้อต่อการแข่งขัน (อันดับที่ 1) และมีการลงทุนด้าน R&D ระดับ world-class  ในขณะที่ มาเลเซีย (อันดับที่ 28 ของโลก) แม้ว่าจะติดอันดับที่ต่ำกว่าญี่ปุ่น (แต่สูงกว่าเกาหลีใต้หนึ่งอันดับ) ก็ตาม ยังมีศักยภาพในการดึงดูดคนเก่ง (อันดับที่ 35) ที่ดีกว่าทั้งญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

 

ศักยภาพในการแข่งขันการผลิต ดึงดูด และรักษาคนเก่ง (จีทีซีไอ)   ประจำปี 2017

Rankings on GTCI and by pillar

Country

GTCI ranking

Enable

Attract

Grow

Retain

VT Skills

GK Skills

Singapore

2

1

1

13

7

8

1

Australia

6

17

6

9

14

25

5

New Zealand

14

4

8

11

28

34

8

Japan

22

5

51

19

16

32

23

Malaysia

28

22

35

31

39

16

41

S.Korea

29

24

70

21

48

35

19

Philippines

52

59

62

65

66

43

40

China

54

52

100

39

71

81

27

Mongolia

72

63

65

71

80

83

59

Thailand

73

55

66

43

79

100

71

Vietnam

86

83

96

88

87

98

56

Indonesia

90

84

105

87

93

65

91

Cambodia

108

90

108

96

100

114

113

 

 

ความสามารถในการแข่งขันของไทยนั้นปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 73 ในปีนี้ จาก 69 ในปี 2016 ซึ่งลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เมื่อเทียบกับปี 2015 ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงในหลายๆด้านเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต ดึงดูด และรักษาคนเก่งให้แข่งกับประเทศอื่นๆได้ ทั้งนี้ ไทยได้คะแนนโดดเด่นที่สุดในด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 21 เมื่อเทียบกับทั่วโลก นอกจากนี้ ไทยยังคงทำผลงานได้ดีในด้านการสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาของไทย (ติดอันดับที่ 64) รวมถึงการเพิ่มจำนวนนักวิจัย (อันดับที่ 59)  และปรับคุณภาพของสถาบันทางวิทยาศาสตร์ (อันดับที่ 51) โดยคะแนนใน 3 หัวข้อดังกล่าวปรับขึ้นมาจากปีก่อนหน้านี้ สำหรับอันดับความ สามารถด้านการรักษาคนเก่ง คะแนนด้านความยั่งยืนทางสังคมปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 67 จาก 79 เช่นเดียวกัน ระบบบำเหน็จบำนาญและการจัดเก็บภาษี ด้านทักษะการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของแรงงานไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยมาอยู่ที่อันดับ 44 จาก 45 ส่วนความสามารถในการเคลื่อนย้ายไปทำงานยังที่ต่างๆในประเทศเอง และเทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์เสมือนจริงก็ได้รับการปรับให้ดีขึ้นเพื่อผลิตและดึงดูดคนเก่งๆ ซึ่งนั่นก็แสดงให้เห็นว่าทางภาครัฐและธุรกิจได้ให้ความใส่ใจอย่างจริงจังในการเพิ่มขีดความสามารถของระบบสาธารณูปโภค การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายและนโยบายการจ้างงานที่เอื้อต่อการทำงานในที่ต่างๆโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในขณะเดียวกัน คะแนนในหัวข้อสภาพแวดล้อมด้านการกำกับดูแลเพิ่มขึ้นแตะอันดับที่ 72 จาก 80 เช่นเดียวกับความมีประสิทธิภาพของรัฐบาล (อันดับที่ 50)  และเสถียรภาพทางการเมือง (อันดับที่ 102) ขณะเดียวกัน คะแนนด้านสภาวะทางธุรกิจของไทยปรับขึ้นด้านการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการที่เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยเช่นกันอยู่ที่อันดับ 52 จาก 53

 

 

จากการประเมินผลของความพร้อมด้านการใช้เทคโนโลยีภายในภูมิภาคเดียวกัน สิงคโปร์เป็นผู้นำที่โดดเด่นของเอเชีย ในขณะที่มาเลเซียได้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมเป็นอย่างยิ่งสำหรับเรื่องเทคโนโลยีมากกว่าสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) แม้ว่าเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) จะดีกว่าก็ตาม ประเทศจีนมีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีพอสมควรพอๆกับ เวียดนาม

 

ในปีนี้ เวียดนามเองก็ถูกปรับลดระดับลงมาถึง 4 อันดับ (ครองอันดับที่ 86 จาก 82 ในปีที่ผ่านมา) แต่อย่างไรก็ดี เวียดนามก็มีศักยภาพด้านความรู้ระดับโลก (GK) ในระดับที่น่าประทับใจ เป็นอันดับที่ 56 ของโลก โดยมีคะแนนความสามารถด้านการมี Talent Impact เป็นอันดับที่ 23 ซึ่งดีกว่าประเทศมองโกเลีย, ไทย, อินโดนีเซีย และกัมพูชา แม้ว่าศักยภาพในการเสริมสร้างคนเก่งจะอยู่ที่อันดับ 88 ของโลก แต่คนเวียดนามมีความสามารถในการอ่าน มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ซึ่งสูงกว่า ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ไทย, มาเลเซียและอินโดนีเซีย

 

ดัชนีชี้วัดนี้ (หรือ GTCI) จะวัดว่าแต่ละประเทศได้ผลิต ดึงดูด และรักษาคนเก่งไว้ให้อยู่ในประเทศตนได้ดีระดับใด เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนำมาเป็นข้อมูลเพื่อพิจารณาการพัฒนากลยุทธ์สำหรับการส่งเสริมความสามารถของประเทศตนให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ โดยมีประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 118 ประเทศทั่วโลก (เพิ่มขึ้นจาก 109 ประเทศเมื่อปีที่แล้ว)  รูปแบบของ GTCI ครั้งที่ 4 นี้เป็นการวัดเรื่องคนเก่งมากความสามารถกับเทคโนโลยี: ตัวการกำหนดรูปแบบในอนาคตของการทำงาน (Talent and Technology: Shaping the Future of Work) รายงานของปี 2017 เป็นการสำรวจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่มีต่อการแข่งขันเรื่องการผลิต ดึงดูด และรักษาคนเก่งโดยระบุว่า แม้ว่างานในทุกระดับจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่เทคโนโลยีก็ยังมีส่วนช่วยในการสร้างโอกาสการทำงานใหม่ๆอีกด้วย อย่างไรก็ดีคนและองค์กรจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงานที่ความรู้เทคโนโลยี ทักษะของคน ความยืดหยุ่น และการทำงานร่วมกันเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของธุรกิจ และซึ่งเครือข่ายความสัมพันธ์เชื่อมโยงในระดับแนวราบที่กำลังเข้ามาแทนที่ลำดับชั้นบังคับบัญชาจะกลายเป็นบรรทัดฐานรูปแบบใหม่ของการเป็นผู้นำ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบธุรกิจ และสถาบันการศึกษาจำต้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างระบบการศึกษาและนโยบายตลาดแรงงานที่มีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ประเทศของตนต้องการ