หลังจากผ่านการตอบคำถามมาอย่างยาวนาน ในที่สุดก็มาถึงช่วงท้ายของการสัมภาษณ์งานซึ่งเป็นโอกาสที่เราในฐานะผู้สมัครจะได้สอบถามเรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับองค์กรคืนบ้าง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบางคำถามจะเป็นคำถามที่เราคาใจอย่างมาก แต่ก็ไม่ใช่ทุกเรื่องที่เราควรถามในระหว่างสัมภาษณ์งาน โดยเฉพาะเมื่อเป็นคำถามที่ตรงมากจนเกินไป
มาลองดูกันว่า มีคำถามไหนบ้างที่เราควรเลี่ยงในการสัมภาษณ์งาน หรือมีวิธีปรับคำถามอย่างไรให้ดูสุภาพมากขึ้นแต่ยังได้คำตอบตามที่เราต้องการ
1. “โดยปกติแล้วใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะได้เลื่อนขั้น”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: การถามถึงการเลื่อนขั้นตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำงานไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสม เพราะอาจทำให้เราถูกมองว่าสนใจเงินเดือนและชื่อตำแหน่งมากกว่าการเข้ามาพัฒนาองค์กร รวมถึงเป็นไปได้ยากที่จะตอบได้อย่างแน่ชัดว่าแต่ละคนจะได้เลื่อนขั้นเมื่อไหร่ เพราะการเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถ รวมถึงจังหวะและโอกาส ซึ่งแตกต่างกันไป
ประโยคทางเลือก: “อยากทราบว่าองค์กรมีวิธีช่วย support พนักงานให้เติบโตอย่างไรบ้าง” เป็นวิธีการถามที่เปลี่ยนโฟกัสจากตัวเราไปโฟกัสที่ระบบขององค์กร ซึ่งผู้สัมภาษณ์จะให้คำตอบได้ชัดเจนมากกว่า อีกทั้งยังช่วยให้เราได้รู้ว่าองค์กรให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าของพนักงานมากน้อยขนาดไหน
2. “คุณชอบทำงานที่นี่ไหม” / “มีอะไรที่คุณไม่ชอบในการทำงานที่นี่ไหม”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: การถามผู้สัมภาษณ์ด้วยคำถามนี้นอกจากจะฟังดูเหมือนพยายามจะเค้นหาข้อเสียขององค์กรซึ่งทำให้เราดูไม่ดีแล้ว ยังเป็นการถามความคิดเห็นส่วนตัวซึ่งคำตอบที่ได้อาจไม่ใช่ความจริง และไม่ได้ช่วยในการตัดสินใจของเราเลย
ประโยคทางเลือก: “Lifestyle การทำงานในแต่ละวันของตำแหน่งนี้เป็นอย่างไรบ้าง” แทนที่จะถามความคิดเห็นของผู้อื่นแบบกว้าง ๆ ให้เราเปลี่ยนมาโฟกัสการทำงานในตำแหน่งของเราเองจะดีกว่า ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า เราต้องทำงานกับใคร ต้องเจอเรื่องท้าทายอะไร รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าเราน่าจะชอบที่นี่หรือไม่
3. “ต้องทำงานนอกเวลาบ่อยแค่ไหน”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: คำถามนี้อาจทำผู้สัมภาษณ์เข้าใจผิดได้ว่าเราน่าจะเป็นคนไม่ทุ่มเทกับงาน แม้ว่าจริง ๆ แล้วเราอาจเป็นคนทุ่มเทกับงานอย่างเต็มที่ภายในเวลางานก็ตาม
ประโยคทางเลือก: “อยากทราบว่า culture ของทีมนี้เป็นอย่างไร” เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ทำให้เราได้เห็นกว้างในการทำงานที่นี่ คำตอบที่ได้มักครอบคลุมไปถึงเรื่องเวลาเข้าออกงาน ลักษณะนิสัยของคนในทีม ภาระงาน และอื่น ๆ ซึ่งทำให้เราพอจะคาดเดาได้ว่าเราจะมี work-life balance มากน้อยขนาดไหน
4. “มีคำแนะนำอะไรที่จะช่วยให้ผม/ดิฉันได้งานนี้ไหม”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: เป็นคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ฟังแล้วอาจจะมองว่าเราแปลก เพราะในการสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์มีหน้าที่คัดเลือกและค้นหาผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุด ไม่ใช่เป็นที่ปรึกษาให้ใครคนใดคนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของผู้สมัครเองที่ต้องนำเสนอตัวเองให้น่าสนใจจนผู้สัมภาษณ์เชื่อว่าเราเหมาะกับตำแหน่งนี้จริง ๆ
ประโยคทางเลือก: “คุณคาดหวังอะไรมากที่สุดจากตำแหน่งนี้” การถามถึงความคาดหวังที่องค์กรมีต่อตำแหน่งนั้น ๆ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เราได้รู้ว่าองค์กรกำลังต้องการคนแบบไหน เราน่าจะเป็นคนนั้นได้หรือไม่ รวมถึงช่วยให้เราตั้งเป้าหมายในการทำงานได้ง่ายขึ้นหากมีโอกาสได้เข้าไปทำงานจริง ๆ
5. “มีตำแหน่งอื่นที่กำลังเปิดรับสมัครไหม”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: คำถามนี้จะทำให้เราดูไม่มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน และดูไม่มี passion กับงานที่กำลังสมัคร ซึ่งทำให้ผู้สัมภาษณ์ลังเลที่จะเลือกเรา นอกจากนี้ คำถามนี้ยังไม่จำเป็นต้องถามด้วยเหตุผลว่าหากองค์กรมีตำแหน่งอื่นที่กำลังเปิดรับสมัครและผู้สัมภาษณ์มองเห็นความเป็นไปได้ของเรา ผู้สัมภาษณ์มักเป็นฝ่ายเสนอตำแหน่งอื่น ๆ ให้เราพิจารณาเอง
6. “สามารถใช้วันลาป่วยหรือลาพักร้อนได้เมื่อไหร่”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: จริง ๆ แล้วคำถามนี้สามารถถามได้ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์เกริ่นเรื่องวันลาขึ้นมาก่อน แล้วใช้คำถามนี้เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม แต่หากผู้สัมภาษณ์ไม่ได้พูดเกี่ยวถึงเรื่องนี้เลย เราก็ควรเลี่ยงคำถามนี้ไปก่อน เพื่อไม่ให้ถูกมองว่าเราอาจเป็นคนที่ลาบ่อย แล้วเก็บไว้ถามหลังจากได้รับ offer แทน
7. “มีแผนจะ lay off คนในปีนี้ไหม”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: เรื่อง lay off เป็นเรื่อง sensitive ดังนั้นในฐานะที่เรายังเป็นคนนอกองค์กร การใช้คำถามที่ตรงเกินไปจึงอาจดูไม่เหมาะสม แต่หากองค์กรที่เราสมัครเพิ่งมีข่าว lay off และเราก็กังวลกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ เราอาจจะพิจารณาสอบถามเรื่องนี้ได้โดยใช้คำถามที่ดูสุภาพยิ่งขึ้น
ประโยคทางเลือก: “เห็นว่าองค์กรมี lay off ในช่วงที่ผ่านมา ไม่แน่ใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงในจุดไหนเป็นพิเศษ” แม้คำถามนี้อาจไม่ทำให้ได้คำตอบเกี่ยวกับการ lay off ในอนาคตโดยตรง แต่ก็น่าจะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์การ lay off ขององค์กรมากขึ้น ซึ่งหากเป็นองค์กรใหญ่ ผู้สัมภาษณ์ก็มักจะเตรียมคำตอบสำหรับเรื่องนี้ไว้แล้ว
คำถามอื่น ๆ ที่ไม่ควรถาม
นอกจาก 7 คำถามนี้แล้ว คำถามอีกหนึ่งประเภทที่ไม่ควรถามเพราะจะทำให้เราดูไม่ได้เตรียมตัวมาและโดนหักคะแนนได้ นั่นคือการถามเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นขององค์กร เช่น “องค์กรทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร” ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักมีอยู่ในเว็บไซต์ขององค์กรอยู่แล้ว ยกเว้นแต่ว่าเป็นองค์กรใหม่หรือองค์กรเล็กที่ไม่มีข้อมูลมากนัก
การเลือกคำถามให้ดีในช่วงสุดท้ายของการสัมภาษณ์งานมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการตอบคำถามต่าง ๆ เพราะสามารถทำให้ผู้สัมภาษณ์ประทับใจเรามากขึ้นหรือน้อยลงได้ เราอาจจะลองนึกดูว่าถ้าเราเป็นผู้สัมภาษณ์แล้วได้ยินคำถามนี้เราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม ก็ถามอย่างมั่นใจได้เลย หวังว่าเทคนิคการตั้งคำถามเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกคนได้เจองานที่ใช่ในการสัมภาษณ์งานครั้งหน้า
หากคุณกำลังมองหางาน ดูตำแหน่งงานในหลากหลายสายงาน และอุตสาหกรรมได้ที่นี่
มาลองดูกันว่า มีคำถามไหนบ้างที่เราควรเลี่ยงในการสัมภาษณ์งาน หรือมีวิธีปรับคำถามอย่างไรให้ดูสุภาพมากขึ้นแต่ยังได้คำตอบตามที่เราต้องการ
1. “โดยปกติแล้วใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะได้เลื่อนขั้น”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: การถามถึงการเลื่อนขั้นตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำงานไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสม เพราะอาจทำให้เราถูกมองว่าสนใจเงินเดือนและชื่อตำแหน่งมากกว่าการเข้ามาพัฒนาองค์กร รวมถึงเป็นไปได้ยากที่จะตอบได้อย่างแน่ชัดว่าแต่ละคนจะได้เลื่อนขั้นเมื่อไหร่ เพราะการเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถ รวมถึงจังหวะและโอกาส ซึ่งแตกต่างกันไป
ประโยคทางเลือก: “อยากทราบว่าองค์กรมีวิธีช่วย support พนักงานให้เติบโตอย่างไรบ้าง” เป็นวิธีการถามที่เปลี่ยนโฟกัสจากตัวเราไปโฟกัสที่ระบบขององค์กร ซึ่งผู้สัมภาษณ์จะให้คำตอบได้ชัดเจนมากกว่า อีกทั้งยังช่วยให้เราได้รู้ว่าองค์กรให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าของพนักงานมากน้อยขนาดไหน
2. “คุณชอบทำงานที่นี่ไหม” / “มีอะไรที่คุณไม่ชอบในการทำงานที่นี่ไหม”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: การถามผู้สัมภาษณ์ด้วยคำถามนี้นอกจากจะฟังดูเหมือนพยายามจะเค้นหาข้อเสียขององค์กรซึ่งทำให้เราดูไม่ดีแล้ว ยังเป็นการถามความคิดเห็นส่วนตัวซึ่งคำตอบที่ได้อาจไม่ใช่ความจริง และไม่ได้ช่วยในการตัดสินใจของเราเลย
ประโยคทางเลือก: “Lifestyle การทำงานในแต่ละวันของตำแหน่งนี้เป็นอย่างไรบ้าง” แทนที่จะถามความคิดเห็นของผู้อื่นแบบกว้าง ๆ ให้เราเปลี่ยนมาโฟกัสการทำงานในตำแหน่งของเราเองจะดีกว่า ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า เราต้องทำงานกับใคร ต้องเจอเรื่องท้าทายอะไร รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าเราน่าจะชอบที่นี่หรือไม่
3. “ต้องทำงานนอกเวลาบ่อยแค่ไหน”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: คำถามนี้อาจทำผู้สัมภาษณ์เข้าใจผิดได้ว่าเราน่าจะเป็นคนไม่ทุ่มเทกับงาน แม้ว่าจริง ๆ แล้วเราอาจเป็นคนทุ่มเทกับงานอย่างเต็มที่ภายในเวลางานก็ตาม
ประโยคทางเลือก: “อยากทราบว่า culture ของทีมนี้เป็นอย่างไร” เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ทำให้เราได้เห็นกว้างในการทำงานที่นี่ คำตอบที่ได้มักครอบคลุมไปถึงเรื่องเวลาเข้าออกงาน ลักษณะนิสัยของคนในทีม ภาระงาน และอื่น ๆ ซึ่งทำให้เราพอจะคาดเดาได้ว่าเราจะมี work-life balance มากน้อยขนาดไหน
4. “มีคำแนะนำอะไรที่จะช่วยให้ผม/ดิฉันได้งานนี้ไหม”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: เป็นคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ฟังแล้วอาจจะมองว่าเราแปลก เพราะในการสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์มีหน้าที่คัดเลือกและค้นหาผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุด ไม่ใช่เป็นที่ปรึกษาให้ใครคนใดคนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของผู้สมัครเองที่ต้องนำเสนอตัวเองให้น่าสนใจจนผู้สัมภาษณ์เชื่อว่าเราเหมาะกับตำแหน่งนี้จริง ๆ
ประโยคทางเลือก: “คุณคาดหวังอะไรมากที่สุดจากตำแหน่งนี้” การถามถึงความคาดหวังที่องค์กรมีต่อตำแหน่งนั้น ๆ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เราได้รู้ว่าองค์กรกำลังต้องการคนแบบไหน เราน่าจะเป็นคนนั้นได้หรือไม่ รวมถึงช่วยให้เราตั้งเป้าหมายในการทำงานได้ง่ายขึ้นหากมีโอกาสได้เข้าไปทำงานจริง ๆ
5. “มีตำแหน่งอื่นที่กำลังเปิดรับสมัครไหม”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: คำถามนี้จะทำให้เราดูไม่มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน และดูไม่มี passion กับงานที่กำลังสมัคร ซึ่งทำให้ผู้สัมภาษณ์ลังเลที่จะเลือกเรา นอกจากนี้ คำถามนี้ยังไม่จำเป็นต้องถามด้วยเหตุผลว่าหากองค์กรมีตำแหน่งอื่นที่กำลังเปิดรับสมัครและผู้สัมภาษณ์มองเห็นความเป็นไปได้ของเรา ผู้สัมภาษณ์มักเป็นฝ่ายเสนอตำแหน่งอื่น ๆ ให้เราพิจารณาเอง
6. “สามารถใช้วันลาป่วยหรือลาพักร้อนได้เมื่อไหร่”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: จริง ๆ แล้วคำถามนี้สามารถถามได้ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์เกริ่นเรื่องวันลาขึ้นมาก่อน แล้วใช้คำถามนี้เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม แต่หากผู้สัมภาษณ์ไม่ได้พูดเกี่ยวถึงเรื่องนี้เลย เราก็ควรเลี่ยงคำถามนี้ไปก่อน เพื่อไม่ให้ถูกมองว่าเราอาจเป็นคนที่ลาบ่อย แล้วเก็บไว้ถามหลังจากได้รับ offer แทน
7. “มีแผนจะ lay off คนในปีนี้ไหม”
เหตุผลที่ไม่ควรถาม: เรื่อง lay off เป็นเรื่อง sensitive ดังนั้นในฐานะที่เรายังเป็นคนนอกองค์กร การใช้คำถามที่ตรงเกินไปจึงอาจดูไม่เหมาะสม แต่หากองค์กรที่เราสมัครเพิ่งมีข่าว lay off และเราก็กังวลกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ เราอาจจะพิจารณาสอบถามเรื่องนี้ได้โดยใช้คำถามที่ดูสุภาพยิ่งขึ้น
ประโยคทางเลือก: “เห็นว่าองค์กรมี lay off ในช่วงที่ผ่านมา ไม่แน่ใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงในจุดไหนเป็นพิเศษ” แม้คำถามนี้อาจไม่ทำให้ได้คำตอบเกี่ยวกับการ lay off ในอนาคตโดยตรง แต่ก็น่าจะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์การ lay off ขององค์กรมากขึ้น ซึ่งหากเป็นองค์กรใหญ่ ผู้สัมภาษณ์ก็มักจะเตรียมคำตอบสำหรับเรื่องนี้ไว้แล้ว
คำถามอื่น ๆ ที่ไม่ควรถาม
นอกจาก 7 คำถามนี้แล้ว คำถามอีกหนึ่งประเภทที่ไม่ควรถามเพราะจะทำให้เราดูไม่ได้เตรียมตัวมาและโดนหักคะแนนได้ นั่นคือการถามเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นขององค์กร เช่น “องค์กรทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร” ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักมีอยู่ในเว็บไซต์ขององค์กรอยู่แล้ว ยกเว้นแต่ว่าเป็นองค์กรใหม่หรือองค์กรเล็กที่ไม่มีข้อมูลมากนัก
การเลือกคำถามให้ดีในช่วงสุดท้ายของการสัมภาษณ์งานมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการตอบคำถามต่าง ๆ เพราะสามารถทำให้ผู้สัมภาษณ์ประทับใจเรามากขึ้นหรือน้อยลงได้ เราอาจจะลองนึกดูว่าถ้าเราเป็นผู้สัมภาษณ์แล้วได้ยินคำถามนี้เราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม ก็ถามอย่างมั่นใจได้เลย หวังว่าเทคนิคการตั้งคำถามเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกคนได้เจองานที่ใช่ในการสัมภาษณ์งานครั้งหน้า
หากคุณกำลังมองหางาน ดูตำแหน่งงานในหลากหลายสายงาน และอุตสาหกรรมได้ที่นี่
อ้างอิง:
https://hbr.org/2024/02/4-questions-not-to-ask-in-a-job-interview
https://www.theforage.com/blog/basics/can-you-ask-about-layoffs-in-an-interview-yes-heres-how