เพิ่มโอกาส HR เรียกสัมภาษณ์ด้วย 7 เทคนิคเขียน Resume อย่างไร ให้ผ่านระบบ ATSถ้าคุณอยู่ในระหว่างการหางานและกำลังสงสัยอยู่ว่าส่งเรซูเม่ไปแล้วก็หลายที่ แต่ก็ยังไม่มีที่ไหนติดต่อกลับมา โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ ให้ลองสันนิษฐานว่าพวกเขาเลือกใช้ระบบ ATS ในการรับสมัครงาน และใบสมัครของคุณก็อาจยังไม่ได้ไปถึงมือ HR ที่เป็นมนุษย์เลยด้วยซ้ำ!
อะไรคือ ATS? บางคนอาจยังไม่คุ้นหู ATS ย่อมาจาก Applicant Tracking System เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกระบวนการรับสมัครงานทั้งหมดไว้ในที่เดียว ช่วยให้ HR สามารถคัดกรองผู้สมัครจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดอ่านเรซูเม่ทุกฉบับที่ส่งมา โดยระบบจะทำหน้าที่ช่วยหาคำสำคัญในเรซูเม่ที่ตรงกับตำแหน่งงาน เพื่อคัดกรองผู้สมัครให้ได้คนที่มีคุณสมบัติตรงกับงานมากที่สุด ก่อนจะไปถึง HR หรือเต้าหน้าที่ recruiter
ข้อดีของระบบ ATS คือการช่วยจัดเก็บข้อมูลและติดตามสถานะของผู้สมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดเวลาและต้นทุนในการจ้างงาน ที่สำคัญคือการดำเนินงานเป็นไปอย่างอัตโนมัติ สามารถประมวลผลผู้สมัครจากทุกกลุ่มคนได้อย่างเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้บริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกและ Recruitment Agency หลายแห่งเลือกใช้ระบบ ATS ในกระบวนการสรรหา
แต่นั่นก็ทำให้ผู้สมัครต้องหันมาใส่ใจในการเขียนเรซูเม่ เพื่อให้มั่นใจว่าจะผ่านระบบ ATS เพื่อเข้าไปถึงมือ HR ให้ได้ อเด็คโก้มีเทคนิดดีๆ ที่ช่วยให้คุณเพิ่มโอกาสฝ่าด่านของระบบ ATS เบื้องต้นไปให้ได้
1.คีย์เวิร์ดดี มีชัยไปกว่าครึ่ง!
นี่คือส่วนที่เป็นหัวใจหลักในการพิชิต ATS เพราะตัวระบบทำงานโดยการสแกนเพื่อหาคีย์เวิร์ดที่ตรงกับตำแหน่งงานที่เปิดรับ ดังนั้นยิ่งคุณมีจำนวนคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ โอกาสที่เรซูเม่ของคุณจะถูกพิจารณาก็ยิ่งมากขึ้น คำสำคัญมักอยู่ใน job description ของตำแหน่งงานนั้นๆ ให้ลองเลือกใช้คำสำคัญที่ตรงกับทักษะและประสบการณ์ของเรา เพื่อให้ระบบเห็นว่าคุณสมบัติของเรามีความใกล้เคียงกับตำแหน่งงาน
ตัวอย่าง:
• ตำแหน่งที่สมัครคือ " Software Engineer” ควรคัดคีย์เวิร์ดที่สำคัญ เช่น " Software Development ", " JavaScript”, “Python”, “C++”, “PHP” เป็นต้น
• ตำแหน่งที่สมัครคือ "Marketing Manager" ควรคัดคีย์เวิร์ดที่สำคัญ เช่น "Digital Marketing", "SEO", "Content Marketing", "Social Media Management", "Brand Strategy" เป็นต้น
การออกแบบและการจัดวางไม่ควรซับซ้อน การทำให้เรียบง่ายที่สุดจะช่วยให้ ATS อ่านข้อมูลได้ง่ายขึ้น หลีกเลี่ยงการใส่ตาราง หรือการทำรูปแบบคอลัมน์ แนะนำให้จัดวางแบบ Chronological ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้จ้างงานส่วนใหญ่คุ้นเคย และได้รับความนิยมที่สุด โดยเน้นการแสดงประสบการณ์การทำงานตามลำดับเวลา เริ่มจากประสบการณ์ล่าสุดไล่ลงไปถึงประสบการณ์การทำงานที่เก่าที่สุด
ไม่จำเป็นต้องใส่กราฟฟิกใด ๆ ให้หวือหวา เช่น แผนภูมิ หรือ กราฟ ที่แสดงระดับความสามารถหรือทักษะ เพราะ ATS บางระบบไม่สามารถอ่านหรือประมวลผลจากกราฟิกได้ ทำให้ข้อมูลที่สำคัญอาจถูกข้ามไป แนะนำให้ใช้ข้อความอธิบายทักษะและประสบการณ์ แทนการใช้กราฟิกจะดีกว่า
เลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่ายและเป็นมิตรกับ ATS เช่น Arial, Calibri, Cambria, Garamond และ Georgia ขนาดฟอนต์ควรอยู่ระหว่าง 10-12 พอยต์ เพื่อให้ข้อมูลในเรซูเม่ของคุณชัดเจนและไม่เกินความสามารถในการอ่านของระบบ
แบ่งเรซูเม่ออกเป็นหมวดหมู่ชัดเจน เช่น “ประสบการณ์การทำงาน” “การศึกษา” และ “ทักษะ” การมีหัวข้อที่ชัดเจนช่วยให้ ATS สแกนหาข้อมูลสำคัญได้ง่ายขึ้น
ก่อนกดส่ง ควรตรวจสอบทุกอย่างให้ละเอียด เพราะความผิดพลาด เช่น การสะกดคำหรือไวยากรณ์สามารถทำให้เรซูเม่ของคุณดูไม่เป็นมืออาชีพได้
หากคุณตั้งใจสมัครงานหลายที่ แม้จะเป็นตำแหน่งเดียวกัน แต่รายละเอียด job description ของแต่ละที่อาจแตกต่างกัน ดังนั้นควรปรับแต่งเนื้อหาและอัพเดท keyword ให้ตรงกับความต้องการของงานที่คุณสมัครอยู่
ด้วยเทคนิคเหล่านี้ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเรซูเม่ของคุณพร้อมสำหรับการกรองของระบบ ATS แล้ว และจะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณได้ถูกพิจารณาจาก HR หรือ Recruiter ในขั้นตอนต่อๆไป
หากคุณกำลังมองหางาน ดูตำแหน่งงานในหลากหลายสายงาน และอุตสาหกรรมได้ที่นี่
อ้างอิง:
https://www.jobscan.co/blog/fortune-500-use-applicant-tracking-systems/
https://gohire.io/blog/how-many-companies-use-applicant-tracking
https://resources.workable.com/career-center/how-to-optimize-your-resume-for-an-ats/
https://www.indeed.com/career-advice/resumes-cover-letters/ats-resume-template
https://www.indeed.com/career-advice/resumes-cover-letters/chronological-resume-tips-and-examples
อะไรคือ ATS? บางคนอาจยังไม่คุ้นหู ATS ย่อมาจาก Applicant Tracking System เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกระบวนการรับสมัครงานทั้งหมดไว้ในที่เดียว ช่วยให้ HR สามารถคัดกรองผู้สมัครจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดอ่านเรซูเม่ทุกฉบับที่ส่งมา โดยระบบจะทำหน้าที่ช่วยหาคำสำคัญในเรซูเม่ที่ตรงกับตำแหน่งงาน เพื่อคัดกรองผู้สมัครให้ได้คนที่มีคุณสมบัติตรงกับงานมากที่สุด ก่อนจะไปถึง HR หรือเต้าหน้าที่ recruiter
ข้อดีของระบบ ATS คือการช่วยจัดเก็บข้อมูลและติดตามสถานะของผู้สมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดเวลาและต้นทุนในการจ้างงาน ที่สำคัญคือการดำเนินงานเป็นไปอย่างอัตโนมัติ สามารถประมวลผลผู้สมัครจากทุกกลุ่มคนได้อย่างเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้บริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกและ Recruitment Agency หลายแห่งเลือกใช้ระบบ ATS ในกระบวนการสรรหา
แต่นั่นก็ทำให้ผู้สมัครต้องหันมาใส่ใจในการเขียนเรซูเม่ เพื่อให้มั่นใจว่าจะผ่านระบบ ATS เพื่อเข้าไปถึงมือ HR ให้ได้ อเด็คโก้มีเทคนิดดีๆ ที่ช่วยให้คุณเพิ่มโอกาสฝ่าด่านของระบบ ATS เบื้องต้นไปให้ได้
1.คีย์เวิร์ดดี มีชัยไปกว่าครึ่ง!
นี่คือส่วนที่เป็นหัวใจหลักในการพิชิต ATS เพราะตัวระบบทำงานโดยการสแกนเพื่อหาคีย์เวิร์ดที่ตรงกับตำแหน่งงานที่เปิดรับ ดังนั้นยิ่งคุณมีจำนวนคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ โอกาสที่เรซูเม่ของคุณจะถูกพิจารณาก็ยิ่งมากขึ้น คำสำคัญมักอยู่ใน job description ของตำแหน่งงานนั้นๆ ให้ลองเลือกใช้คำสำคัญที่ตรงกับทักษะและประสบการณ์ของเรา เพื่อให้ระบบเห็นว่าคุณสมบัติของเรามีความใกล้เคียงกับตำแหน่งงานตัวอย่าง:
• ตำแหน่งที่สมัครคือ " Software Engineer” ควรคัดคีย์เวิร์ดที่สำคัญ เช่น " Software Development ", " JavaScript”, “Python”, “C++”, “PHP” เป็นต้น
• ตำแหน่งที่สมัครคือ "Marketing Manager" ควรคัดคีย์เวิร์ดที่สำคัญ เช่น "Digital Marketing", "SEO", "Content Marketing", "Social Media Management", "Brand Strategy" เป็นต้น
2.ใช้การจัดวางที่เรียบง่าย และดูสะอาดตา
การออกแบบและการจัดวางไม่ควรซับซ้อน การทำให้เรียบง่ายที่สุดจะช่วยให้ ATS อ่านข้อมูลได้ง่ายขึ้น หลีกเลี่ยงการใส่ตาราง หรือการทำรูปแบบคอลัมน์ แนะนำให้จัดวางแบบ Chronological ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้จ้างงานส่วนใหญ่คุ้นเคย และได้รับความนิยมที่สุด โดยเน้นการแสดงประสบการณ์การทำงานตามลำดับเวลา เริ่มจากประสบการณ์ล่าสุดไล่ลงไปถึงประสบการณ์การทำงานที่เก่าที่สุด
3.ไม่ควรใส่รูปภาพหรือกราฟฟิก
ไม่จำเป็นต้องใส่กราฟฟิกใด ๆ ให้หวือหวา เช่น แผนภูมิ หรือ กราฟ ที่แสดงระดับความสามารถหรือทักษะ เพราะ ATS บางระบบไม่สามารถอ่านหรือประมวลผลจากกราฟิกได้ ทำให้ข้อมูลที่สำคัญอาจถูกข้ามไป แนะนำให้ใช้ข้อความอธิบายทักษะและประสบการณ์ แทนการใช้กราฟิกจะดีกว่า
4.ใช้ฟอนต์ที่เป็นมิตรกับ ATS
เลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่ายและเป็นมิตรกับ ATS เช่น Arial, Calibri, Cambria, Garamond และ Georgia ขนาดฟอนต์ควรอยู่ระหว่าง 10-12 พอยต์ เพื่อให้ข้อมูลในเรซูเม่ของคุณชัดเจนและไม่เกินความสามารถในการอ่านของระบบ
5.จัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน
แบ่งเรซูเม่ออกเป็นหมวดหมู่ชัดเจน เช่น “ประสบการณ์การทำงาน” “การศึกษา” และ “ทักษะ” การมีหัวข้อที่ชัดเจนช่วยให้ ATS สแกนหาข้อมูลสำคัญได้ง่ายขึ้น
6.ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
ก่อนกดส่ง ควรตรวจสอบทุกอย่างให้ละเอียด เพราะความผิดพลาด เช่น การสะกดคำหรือไวยากรณ์สามารถทำให้เรซูเม่ของคุณดูไม่เป็นมืออาชีพได้
7.คอยอัพเดท keyword ที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ
หากคุณตั้งใจสมัครงานหลายที่ แม้จะเป็นตำแหน่งเดียวกัน แต่รายละเอียด job description ของแต่ละที่อาจแตกต่างกัน ดังนั้นควรปรับแต่งเนื้อหาและอัพเดท keyword ให้ตรงกับความต้องการของงานที่คุณสมัครอยู่
ด้วยเทคนิคเหล่านี้ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเรซูเม่ของคุณพร้อมสำหรับการกรองของระบบ ATS แล้ว และจะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณได้ถูกพิจารณาจาก HR หรือ Recruiter ในขั้นตอนต่อๆไป
หากคุณกำลังมองหางาน ดูตำแหน่งงานในหลากหลายสายงาน และอุตสาหกรรมได้ที่นี่
อ้างอิง:
https://www.jobscan.co/blog/fortune-500-use-applicant-tracking-systems/
https://gohire.io/blog/how-many-companies-use-applicant-tracking
https://resources.workable.com/career-center/how-to-optimize-your-resume-for-an-ats/
https://www.indeed.com/career-advice/resumes-cover-letters/ats-resume-template
https://www.indeed.com/career-advice/resumes-cover-letters/chronological-resume-tips-and-examples