ถอดรหัส Candidate Persona กุญแจสำคัญในการทำ Recruitment Marketing ยุคดิจิทัล

มีนาคม 12, 2563 ความรู้เชิงลึกด้านทรัพยากรบุคคล
ถอดรหัส Candidate Persona กุญแจสำคัญในการทำ Recruitment Marketing ยุคดิจิทัล

เพราะผู้สมัครที่ “ใช่” ไม่ได้มาเพราะความบังเอิญ และวิธีการค้นหาต้องไม่ใช่การหว่านแหเพียงเพื่อจะได้คนที่ “เกือบใช่” หรือ “แค่ใกล้เคียง” อีกต่อไป!

เคยไหม… ลงประกาศหางานแล้วไม่มีผู้สมัครสนใจ
เคยไหม… เปิดรับสมัครตำแหน่งนี้มาเป็นปีๆ แต่หาคนไม่ได้
และเคยไหม… มีผู้สมัครสนใจมากมาย แต่กลับไม่ใช่คนที่คุณตามหา

หยุดมูฟออนเป็นวงกลมแล้วก้าวไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดด้วย การทำความเข้าใจและรู้จักผู้สมัครที่ใช่ โดยใช้ Candidate Persona”

Candidate Persona คืออะไร?

Candidate Persona คือ การหาลักษณะของผู้สมัครในอุดมคติ เช่น คุณสมบัติ ประสบการณ์ ทักษะ ความสนใจ ช่องทางที่เลือกใช้ในการสมัครงาน และแรงจูงใจในการทำงาน เพื่อใช้เป็น “ต้นแบบ” ในการหา “คนที่ใช่”

โดย Candidate Persona เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสรรหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ Job Ads ที่จะต้องสะท้อนความต้องการของผู้สมัครอย่างแท้จริง โดยมองจากมุมของพวกเขาว่า ผู้สมัครงานในตำแหน่งนี้ต้องการทราบอะไรบ้าง และหันกลับมามององค์กรของเราว่ามีอะไรที่ “โดดเด่นและแตกต่าง” ที่สามารถสะท้อนความเป็นองค์กรของเราให้กับผู้สมัครที่ใช่ หรือแม้กระทั่งการออกแบบ Employee Value Proposition และการนำเสนอ Employer Branding  ซึ่ง HR สามารถนำ Candidate Persona มาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้สมัครที่ใช่ และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด


แล้ว
HR อย่างเราจะเริ่มทำ Candidate Persona อย่างไร?

อเด็คโก้ขอนำเสนอวิธีการทำ Candidate Persona ง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอน ด้วยโมเดล Find-Ask-Build



เริ่มจาก “Find”

คือการค้นหาข้อมูลผู้สมัครต้นแบบ โดยสามารถหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลสำคัญ 2 แหล่ง คือ
  • การสัมภาษณ์ผู้จัดการที่เกี่ยวข้องโดยตรง ว่าพวกเขามีลักษณะของคนต้นแบบในอุดมคติอย่างไร และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาคนแบบไหนที่มักประสบความสำเร็จในสายงานนั้นๆ นอกจากนี้ยังควรสัมภาษณ์พนักงานในบริษัท ทั้งพนักงานเก่าและพนักงานใหม่ที่เพิ่งรับเข้ามาในสายงานที่ใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องว่าคนต้นแบบที่ต้องการควรเป็นอย่างไร พวกเขามีแรงบันดาลใจ และเป้าหมายในการทำงานอย่างไร เพื่อให้การทำ Persona ไม่เกิดความลำเอียงหรือเข้าข้างบริษัทเกินไป
  • แหล่งข้อมูลที่ได้จากใบสมัครงานก่อนหน้านี้ในระบบ Applicant Tracking System (ATS) ของคุณ เพื่อดูว่ามีจุดร่วมไหนที่น่าสนใจในตำแหน่งนี้ รวมถึงการพูดคุยคนรู้จักที่ประสบความสำเร็จในสายงานนั้นๆ ตลอดจนดูโพรไฟล์ของมืออาชีพในสายงานนั้นๆ ในโลกโซเชียลเพื่อนำมาปรับเป็นคุณสมบัติของคนต้นแบบที่คุณต้องการ


ขั้นตอนถัดมา “Ask”

คือ การถามคำถามกับบุคคลเพื่อให้ได้คำตอบของผู้สมัครต้นแบบ โดยการใช้ WH Questions ได้แก่

  • Who ใครคือคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ที่สุด?
  • What พฤติกรรมในการหางานของพวกเขาเป็นอย่างไร?
  • Where จะหาผู้สมัครเหล่านี้จากที่ไหน?
  • Why ทำไมพวกเขาถึงเลือกบริษัทของคุณ?
  • When พวกเขามักสมัครงานช่วงเวลาไหน?
  • How จะโน้มน้าวใจพวกเขาได้อย่างไร?


ขั้นตอนสุดท้าย “Build”

คือ การสร้าง Candidate Persona โดยวิเคราะห์และเลือกใช้ข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมมาจากขั้นตอน Find และ Ask

ถึงเวลาแล้วที่ HR ยุคใหม่จะต้องเข้าใจและรู้จักประยุกต์ใช้เครื่องมือต่างๆ ทางการตลาดสำหรับกระบวนการสรรหาในหลายๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียในการรับสมัครงาน การทำการตลาดเพื่อการสรรหา รูปแบบและเนื้อหาที่ใช้สื่อสารกับผู้สมัคร การสร้างแบรนด์ให้แก่องค์กร และการวัดผลการสรรหาขององค์กร โดยจุดเริ่มต้นของการทำ Recruitment Marketing ทั้งหมด คือการรู้จักและเข้าใจผู้สมัครที่ใช่ขององค์กรคุณ หรือ “Candidate Persona” นั่นเอง

อยากเรียนรู้เรื่อง Recruitment Marketing ในยุคดิจิทัลแบบเจาะลึก ฝึกปฏิบัติการและใช้เครื่องมือจริง พร้อมรับคำแนะนำจาก Recruitment Marketing Practitioner มากประสบการณ์ เพื่ออัพสกิลและทรานฟอร์มให้คุณเป็น HR ยุคใหม่ กับหลักสูตร Winning the Recruitment R.A.C.E with the Power of Marketing Technology ที่อเด็คโก้คัดสรรทุกกลยุทธ์การตลาดเพื่อการสรรหามาให้คุณแบบจัดเต็ม ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2563!