Pride Month: 3 วิธีมีส่วนร่วมสร้างสังคมการทำงานที่น่าอยู่สำหรับคนทุกเพศ

มิถุนายน 23, 2564 ความรู้เชิงลึกด้านทรัพยากรบุคคล
Pride Month: 3 วิธีมีส่วนร่วมสร้างสังคมการทำงานที่น่าอยู่สำหรับคนทุกเพศ

Pride Month เป็นเทศกาลที่กระตุ้นเตือนให้เราตระหนักและเห็นความสำคัญของสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ โดยเฉพาะในที่ทำงานซึ่งเราใช้เวลากว่า 1/3 ของวันที่นี่

#สังคมไทยกับเสรีภาพทางเพศ

ปัจจุบันสังคมไทยเราค่อนข้างเปิดกว้างและยอมรับความหลากหลายทางเพศ ผู้เป็น LGBTQI+ ไม่จำเป็นต้องหลบซ่อน แต่ในสังคมการทำงานนั้นผู้ที่เป็นเพศทางเลือกก็ยังคงพบกับคนที่มีอคติกับอัตลักษณ์ทางเพศ ตั้งแต่ขั้นตอนการรับสมัครงาน หรือแม้ได้เข้ามาทำงานแล้วก็อาจต้องเจอกับคำพูดที่เหยียดอัตลักษณ์ทางเพศ การประเมินผลงานที่ไม่เป็นธรรมเพราะอคติทางเพศซึ่งมีผลต่อการขึ้นเงินเดือนหรือเลือกตำแหน่ง เหตุการณ์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ แม้ในองค์กรที่มีนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ

LGBTQI+ เกินครึ่งเคยถูกเหยียดจากคนในที่ทำงาน

ผลสำรวจ ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้พบว่า 53% ของ LGBTQI+ เคยมีประสบการณ์หรืออยู่ในเหตุการณ์ที่โดนคำดูถูกเหยียดหยาม ขณะที่ 30% ของกลุ่มคนที่ไม่ใช่เพศทางเลือกก็เคยพบเจอเหตุการณ์เหล่านี้ในที่ทำงานเช่นกัน ขณะที่งานวิจัยของ McKinsey ก็พบว่าผู้หญิงที่เป็น LGBTQI+ เช่น เลสเบี้ยน หรือหญิงข้ามเพศ มีแนวโน้มที่จะพบเจอความไม่เป็นธรรมมากกว่าผู้ชายที่เป็น LGBTQI+ ทั้งด้านความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัยในการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศ การเจอคอมเมนต์ที่เหยียดหยาม รวมถึงการประเมินผลงานที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแรงต้านที่ชาว LGBTQI+ ต้องเจอเหล่านี้ส่งผลให้พวกเขาต้องเจอกับความยากลำบากในการทำงานและยังส่งผลต่ออัตราการลาออกที่สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นเพศทางเลือก

3 วิธีมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมการทำงานที่น่าอยู่สำหรับคนทุกเพศ

Adecco จึงอยากเชิญชวนทุกท่านสร้างสังคมการทำงานที่เปิดกว้างยอมรับความหลากหลายทางเพศ กับ 3 วิธีที่เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้

  1. Employees Treatment – การปฏิบัติกับ LGBTQI+ ในฐานะพนักงาน โดยการให้เกียรติพวกเขาไม่ต่างจากพนักงานคนอื่นๆ ไม่พูดจาดูหมิ่น ล้อเลียน และเปิดโอกาสให้เขาได้เข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรขององค์กรได้อย่างเท่าเทียมและมีส่วนร่วมได้ในทุกกิจกรรมโดยไม่ถูกกีดกัน
  1. workplace fairness— การปฏิบัติกับพนักงานทุกคนด้วยความยุติธรรม ประเมินผลงานตามความสามารถ ให้รางวัลหรือลงโทษอย่างเป็นธรรม โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังจากอคติทางเพศ ไม่นำ stereotype ด้านลบของเพศทางเลือกมาตัดสิน หรือมีความคิดว่าเป็นเพศทางเลือกได้เท่านี้ก็ดีแล้ว

  2. work satisfaction—การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข เช่น การพยายามทำความเข้าใจความรู้สึก และมี empathy ให้เพื่อนร่วมงานที่เป็น LBGTQI+ สร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยในการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศ เมื่อพบพฤติกรรมเหยียดเพศในที่ทำงานต้องช่วยกันตักเตือนทันที

ในส่วนขององค์กรอาจพิจารณารณรงค์หรือจัดอบรมให้ความรู้เรื่องความหลากหลายและเท่าเทียมทางเพศ การไม่บังคับใส่ยูนิฟอร์มตามเพศสภาพ การปรับปรุงสวัสดิการให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเพศทางเลือกมากขึ้น เป็นต้นค่ะ

ทุกๆ actionของเราสามารถเปลี่ยนที่ทำงานของเราให้น่าอยู่ขึ้นสำหรับชาว LGBTQI+ มาร่วมส่งท้ายเดือนนี้ด้วยจุดเริ่มต้นดีๆ ที่เราจะสร้างสังคมการทำงานที่ยอมรับความหลากหลายด้วยกันนะคะ

 

อ้างอิง


เกี่ยวกับ Adecco 

Adecco เป็น Recruitment Agency ที่ให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและบริการด้าน recruitment แบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งบริการสรรหาพนักงานประจำและบริการสรรหาพนักงานสัญญาจ้างชั่วคราว รวมถึงบริการ executive search สรรหาผู้บริหารให้องค์กร 

  • ลูกค้าองค์กรที่สนใจสามารถติดต่อรับคำปรึกษาจาก recruitment consultant ของเรา ที่ webmaster@adecco.co.th หรือติดต่อ Adecco สาขาใกล้คุณ โดยทางเราเราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด