จะเป็นอย่างไรถ้าเราได้รู้คำถามที่จะถูกถาม ‘ก่อน’ สัมภาษณ์งานและเราไม่ต้องคาดเดาคำถามเองอีกต่อไป?
.
การบอกคำถามสัมภาษณ์งานให้ผู้สมัครได้รู้ล่วงหน้าและเตรียมคำตอบมาก่อน ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไป เพราะกำลังเป็นหนึ่งในเทรนด์การคัดเลือกผู้สมัครรูปแบบใหม่ที่หลายบริษัททั่วโลกกำลังทดลองนำมาใช้ หลังจากมีการพูดถึงข้อดีของมันอย่างแพร่หลายบน LinkedIn
.
การสัมภาษณ์งานรูปแบบใหม่นี้เริ่มเป็นกระแสหลังจากมีผู้ใช้งาน LinkedIn ท่านหนึ่งโพสต์แชร์เรื่องราวของตัวเองว่า เธอเพิ่งได้เจอกับการสัมภาษณ์งานที่ดีที่สุดในชีวิต โดยบริษัทที่เธอสมัครไม่เพียงแค่ส่งลิสต์คำถามทั้งหมดมาให้ทางอีเมลเท่านั้น แต่ยังบอกเหตุผลสั้น ๆ ว่าทำไมถึงถามคำถามนี้ และได้แนบลิงก์ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้อ่านเพิ่มเติมอีกด้วย
.
นอกจากนี้ ในขณะสัมภาษณ์งาน เธอยังพบว่าการสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้เพียง 20 นาที กลับทำให้รู้สึกว่าสามารถนำเสนอตัวเองได้ดีกว่าการสัมภาษณ์งานแบบเดิม ๆ ที่ยาวเกือบชั่วโมง เพราะได้คิดคำตอบที่ดีที่สุดมาแล้ว ซึ่งโพสต์นี้ได้รับยอด like สูงถึง 6,000 like และมีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนจำนวนมากให้วิธีนี้ถูกนำไปใช้จริงในวงกว้าง
.
ในฝั่ง HR และนายจ้างเอง ก็มีหลายคนที่มองเห็นข้อดีของการสัมภาษณ์ในรูปแบบนี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดความกังวลในการสัมภาษณ์งานให้กับผู้สมัคร โดยเฉพาะเมื่อต้องเจอคำถามที่คาดไม่ถึง ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะคิดคำตอบได้ดีในสถานการณ์ที่กดดัน และอาจทำให้โชว์ทักษะที่แท้จริงได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควรจะเป็น
.
การใช้วิธีนี้จึงช่วยลดการตัดสินพลาดของผู้สัมภาษณ์ที่อาจเผลอเข้าข้างผู้สมัครที่ ‘ตอบคำถามได้เร็ว’ หรือเก่งในการตอบคำถาม แล้วสร้างความแฟร์ให้กับผู้สมัครทุกคนโดยโฟกัสกับ ‘เนื้อหาของคำตอบ’ มากขึ้น
.
ไม่เพียงเท่านั้น การบอกคำถามล่วงหน้ายังเป็นการทำให้ผู้สมัครเข้าใจว่าบริษัทกำลังมองหาคนแบบไหนและให้คุณค่ากับอะไร ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้พิจารณาว่าตัวเองเหมาะกับที่นี่จริงหรือไม่ รวมถึงเมื่อผู้สมัครเกิดความประทับใจจากการสัมภาษณ์งานแบบนี้แล้ว ก็มีโอกาสที่ผู้สมัครจะรู้สึกอยากเข้ามาร่วมงานกับองค์กรนั้นๆ อย่างแท้จริง
.
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็มีข้อเสียกับฝั่งนายจ้างอยู่บ้าง เช่น อาจต้องใช้เวลาเตรียมคำถามมากขึ้น อาจไม่ได้เห็นความเป็นธรรมชาติของผู้สมัครมากเท่าวิธีดั้งเดิม และอาจไม่เหมาะกับตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะการตอบคำถามอย่างรวดเร็วในการทำงานจริง เช่น customer service เพราะวิธีนี้อาจใช้ประเมินทักษะนี้ไม่ได้ดีเท่าที่ควร เป็นต้น
.
จากข้อดีข้อเสียที่กล่าวมา เรื่องนี้จึงเป็นอีกเทรนด์ที่น่าตื่นเต้นและน่าลุ้นว่าคนไทยอย่างเราจะมีโอกาสได้สัมผัสบ้างหรือไม่ นี่จะเป็นเพียงเทรนด์ในช่วงสั้น ๆ หรือจะถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอนาคต ต้องมาร่วมติดตามกันต่อไป
.
อ้างอิง: https://www.linkedin.com/.../pros-and-cons-sharing...
https://www.linkedin.com/.../forrestclements_lets.../
https://www.linkedin.com/.../urn:li:activity.../
.
.
การบอกคำถามสัมภาษณ์งานให้ผู้สมัครได้รู้ล่วงหน้าและเตรียมคำตอบมาก่อน ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไป เพราะกำลังเป็นหนึ่งในเทรนด์การคัดเลือกผู้สมัครรูปแบบใหม่ที่หลายบริษัททั่วโลกกำลังทดลองนำมาใช้ หลังจากมีการพูดถึงข้อดีของมันอย่างแพร่หลายบน LinkedIn
.
การสัมภาษณ์งานรูปแบบใหม่นี้เริ่มเป็นกระแสหลังจากมีผู้ใช้งาน LinkedIn ท่านหนึ่งโพสต์แชร์เรื่องราวของตัวเองว่า เธอเพิ่งได้เจอกับการสัมภาษณ์งานที่ดีที่สุดในชีวิต โดยบริษัทที่เธอสมัครไม่เพียงแค่ส่งลิสต์คำถามทั้งหมดมาให้ทางอีเมลเท่านั้น แต่ยังบอกเหตุผลสั้น ๆ ว่าทำไมถึงถามคำถามนี้ และได้แนบลิงก์ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้อ่านเพิ่มเติมอีกด้วย
.
นอกจากนี้ ในขณะสัมภาษณ์งาน เธอยังพบว่าการสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้เพียง 20 นาที กลับทำให้รู้สึกว่าสามารถนำเสนอตัวเองได้ดีกว่าการสัมภาษณ์งานแบบเดิม ๆ ที่ยาวเกือบชั่วโมง เพราะได้คิดคำตอบที่ดีที่สุดมาแล้ว ซึ่งโพสต์นี้ได้รับยอด like สูงถึง 6,000 like และมีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนจำนวนมากให้วิธีนี้ถูกนำไปใช้จริงในวงกว้าง
.
ในฝั่ง HR และนายจ้างเอง ก็มีหลายคนที่มองเห็นข้อดีของการสัมภาษณ์ในรูปแบบนี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดความกังวลในการสัมภาษณ์งานให้กับผู้สมัคร โดยเฉพาะเมื่อต้องเจอคำถามที่คาดไม่ถึง ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะคิดคำตอบได้ดีในสถานการณ์ที่กดดัน และอาจทำให้โชว์ทักษะที่แท้จริงได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควรจะเป็น
.
การใช้วิธีนี้จึงช่วยลดการตัดสินพลาดของผู้สัมภาษณ์ที่อาจเผลอเข้าข้างผู้สมัครที่ ‘ตอบคำถามได้เร็ว’ หรือเก่งในการตอบคำถาม แล้วสร้างความแฟร์ให้กับผู้สมัครทุกคนโดยโฟกัสกับ ‘เนื้อหาของคำตอบ’ มากขึ้น
.
ไม่เพียงเท่านั้น การบอกคำถามล่วงหน้ายังเป็นการทำให้ผู้สมัครเข้าใจว่าบริษัทกำลังมองหาคนแบบไหนและให้คุณค่ากับอะไร ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้พิจารณาว่าตัวเองเหมาะกับที่นี่จริงหรือไม่ รวมถึงเมื่อผู้สมัครเกิดความประทับใจจากการสัมภาษณ์งานแบบนี้แล้ว ก็มีโอกาสที่ผู้สมัครจะรู้สึกอยากเข้ามาร่วมงานกับองค์กรนั้นๆ อย่างแท้จริง
.
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็มีข้อเสียกับฝั่งนายจ้างอยู่บ้าง เช่น อาจต้องใช้เวลาเตรียมคำถามมากขึ้น อาจไม่ได้เห็นความเป็นธรรมชาติของผู้สมัครมากเท่าวิธีดั้งเดิม และอาจไม่เหมาะกับตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะการตอบคำถามอย่างรวดเร็วในการทำงานจริง เช่น customer service เพราะวิธีนี้อาจใช้ประเมินทักษะนี้ไม่ได้ดีเท่าที่ควร เป็นต้น
.
จากข้อดีข้อเสียที่กล่าวมา เรื่องนี้จึงเป็นอีกเทรนด์ที่น่าตื่นเต้นและน่าลุ้นว่าคนไทยอย่างเราจะมีโอกาสได้สัมผัสบ้างหรือไม่ นี่จะเป็นเพียงเทรนด์ในช่วงสั้น ๆ หรือจะถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอนาคต ต้องมาร่วมติดตามกันต่อไป
.
อ้างอิง: https://www.linkedin.com/.../pros-and-cons-sharing...
https://www.linkedin.com/.../forrestclements_lets.../
https://www.linkedin.com/.../urn:li:activity.../
.