Adaptability ทักษะสำคัญสำหรับคนทำงานในศตวรรษที่ 20

มิถุนายน 29, 2565 คำแนะนำด้านอาชีพ
Adaptability ทักษะสำคัญสำหรับคนทำงานในศตวรรษที่ 20

Adaptability ทักษะในการปรับตัวที่ผู้นำและคนทำงานยุคใหม่ต้องมี 

ในช่วงปีสองปีมานี้เรามักได้ยินคำว่า resilience บ่อยๆ ว่าเราต้องมี resilience ในการเผชิญหน้ากับปัญหา คือต้องสามารถที่จะล้มและลุกได้เร็ว สามารถฟื้นตัวสู่สภาวะได้เร็ว ซึ่งการที่เราจะมี resilience ได้ สิ่งแรกที่เราต้องมีก็คือ adaptability หรือ ทักษะในการปรับตัว เพื่อที่จะปรับทัศนคติในการมองปัญหา ปรับวิธีคิด และปรับวิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเจอกับความท้าทายที่เข้ามาซึ่งจะช่วยให้เราสามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่เข้ามาได้ ซึ่ง adaptability หรือ ทักษะในการปรับตัวคือพระเอกที่เราจะพูดถึงในวันนี้ โดยเราได้คัดส่วนหนึ่งมาจากบทความของ Mckinsey: Future proof: Solving the ‘adaptability paradox’ for the long term มาสรุปให้ผู้อ่านได้อ่านกันค่ะ 

อยากมีทักษะ Adaptability ต้องฝึกสามสิ่งนี้ 

ผู้นำและคนทำงานสมัยนี้ต้องเจอกับความท้าทายของยุคสมัยที่ต่างไปจากอดีต พวกเขาต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและปัญหาใหม่ที่ไม่เคยเจออยู่ตลอดเวลา  ความสามารถในการปรับตัวและปรับวิธีคิดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพื่อที่เมื่อเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายต่างๆ จะสามารถยืดหยุ่นความคิดและวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ทักษะในการปรับตัวจึงเป็นทักษะจำเป็นที่เราต้องหมั่นฝึกฝน ซึ่งความสามารถในการปรับตัวก็เหมือนกล้ามเนื้อที่เราต้องฝึกฝนมันให้แข็งแรง สิ่งนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า adaptability muscle โดยการที่เราจะสามารถปรับตัวได้ดีเราต้องพัฒนาตัวเองในสามด้านด้วยกันคือ 

  1. learning agility หรือ ความคล่องตัวในการเรียนรู้ การฝึกเป็นคนที่ขวนขวายหาความรู้ใหม่อยู่เสมอ จะเอาแต่ยึดติดอยู่กับตำราเดิมหรือวิธีที่เคยใช้ในอดีตเพียงอย่างเดียวไม่ได้  

  2. emotional flexibility หรือความยืดหยุ่นทางอารมณ์ การฝึกความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะหากเราไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ก็จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ ส่งผลเสียทั้งต่อคนรอบข้างและบรรยากาศในการทำงาน  

  3. openness หรือใจที่เปิดกว้าง การฝึกที่จะเปิดใจที่จะมองสิ่งต่างๆ ในมุมที่ต่างออกไป เปิดใจที่จะรับฟังความเห็นจากผู้อื่นและประสบการณ์ใหม่ๆ สามสิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถนิ่งและมีสติท่ามกลางความกดดันต่างๆ ที่รุมเร้า และมองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในมุมที่สงสัยใคร่รู้ มากกว่าที่จะพยายามต้านกระแสของความเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 


Mindset
ของคนที่มี Adaptability เป็นอย่างไร? 

การจะดูว่าคนแบบไหนมีทักษะในการปรับตัวที่ดีก็ต้องดูวิธีมองปัญหาและจัดการกับปัญหาของแต่ละคนเป็นหลัก เรามาดูกันว่า mindset ของคนที่ขาดทักษะในการปรับตัวกับคนที่มีทักษะในการปรับตัวและมีทัศนคติที่ยืดหยุ่นนั้นต่างกันอย่างไรในตารางด้านล่างนี้ เพื่อที่เราจะได้หันมาปรับ mindset ของเราให้พร้อมรับความท้าทายใหม่ๆ กันค่ะ 

mindset ของคนที่ติดกับ status quo เดิมๆ 

mindset ของคนที่มีทักษะ adaptability 

Fixed – มองความท้าทายเป็นบททดสอบที่มีผลลัพธ์ตายตัวคือสำเร็จหรือล้มเหลวเท่านั้น  

Growth – มองความท้าทายและความผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้และและเติบโต  

Expertคิดว่าตนเองเป็นผู้รู้ เมื่อเจอความท้าทายก็จะพยายามแก้ปัญหาด้วยคำตอบที่มีในใจแล้ว 

Curiousคิดว่าตัวเองไม่รู้ ต้องถามเยอะๆ และออกไปเรียนรู้เพื่อหาวิธีใหม่ๆ มาแก้ปัญหา 

Reactiveระบุสาเหตุของปัญหาและใช้วิธีเดิมที่เคยใช้และผ่านการทดสอบมาอย่างดีแล้วมาแก้ปัญหา 

Creative - เปิดกว้างในการทดลอง คิดค้นวิธีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาแก้ปัญหา  

Victim – รับบทเหยื่อเมื่อเจอปัญหา โดยอ้างสิ่งที่อยู่เหนือความควบคุมว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้สำเร็จ 

Agentรับบทผู้แทนเมื่อเจอปัญหา เชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองในการเรียนรู้และเอาชนะอุปสรรค 

Scarcity - มองว่าปัญหาเกิดจาการขาดแคลนทรัพยากร ทางเลือก หรือมีสิ่งที่ต้องแลก 

Abundanceมองว่าปัญหาคือการค้นหาสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายสามารถ win-win ไปด้วยกัน 

Certaintyมักเลือกทำตามแผนเดิมมากกว่าหาทางใหม่ที่อาจได้ผลดีกว่า 

Exploration - วางแผนไว้แต่พร้อมยืดหยุ่นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต 

Protection - มีแนวคิดที่มุ่งเน้นไปที่การป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น 

Opportunityมีแนวคิดที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้น 

 


จากตารางนี้คงพอเห็นภาพแล้วใช่ไหมคะว่า
mindset ของคนที่มีทักษะ adaptability เป็นอย่างไร เราจะเห็นว่าคนที่มีทักษะ adaptability จะมีแนวคิดที่เปิดกว้าง พร้อมที่จะเรียนรู้ เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองแต่ขณะเดียวกันก็ต้องลดอัตตาของตัวเองลงโดยทำตัวเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้วเพื่อให้มีที่ว่างในการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ การทำงานยุคนี้บางครั้งเราก็ไม่ควรด่วนตัดสินจากประสบการณ์เร็วเกินไปหรือปฏิเสธอะไรไปเสียก่อน แต่ควรเปิดใจที่จะเรียนรู้และศึกษาว่าสิ่งต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร เพราะหากเราปิดรับและยึดติดกับวิธีการเดิมๆ เพียงอย่างเดียว สุดท้ายเราก็จะไม่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่หรือพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้เลย