การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อสุขภาพ เสริมสร้างประสิทธิภาพและสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงาน

สิงหาคม 07, 2558 ความรู้เชิงลึกด้านทรัพยากรบุคคล
การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อสุขภาพ  เสริมสร้างประสิทธิภาพและสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงาน

 

ในขณะที่ความรักในงานที่ทำเป็นปัจจัยผลักดันสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในหน้าที่การงาน ยังมีปัจจัยอีกหลากหลายที่มีส่วนช่วย

เพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน - หนึ่งในนั้นก็คือสภาพแวดล้อมในการทำงาน หากองค์กรมี

สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ยิ่งจะช่วยทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในการทำงานและช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานให้มากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพนักงานสามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้ สามารถทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน

ได้เป็นอย่างดีพนักงานก็จะมีประสบการณ์ในการทำงานในเชิงบวกมากขึ้น ซึ่งมักจะส่งผลให้เกิดผลิตภาพในงานในระดับที่สูงขึ้นเช่นกัน
มีเหตุผลหลายประการที่ธุรกิจจำต้องสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อสุขภาพน่าทำงาน นอกจากจะช่วยรักษา

พนักงานให้อยู่กับองค์กรและเป็นปัจจัยดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถให้สนใจเข้ามาร่วมงานกับองค์กรแล้ว สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

ยังเป็นส่วนสำคัญในการช่วยลดอัตราการขาดงานของพนักงาน รวมทั้งช่วยเพิ่มขวัญกำลังใจในการทำงานของพนักงานและเสริมสร้างสภาพ

แวดล้อมการทำงานที่สนุกสนานปราศจากความเครียดอีกด้วย

เมื่อกล่าวถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพนั้น ไม่ได้หมายถึงด้านสุขภาพจิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  ในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่

ภัยคุกคามจากการระบาดของโรคต่างๆเกิดขึ้นใกล้ตัว นายจ้างจำต้องพิจารณาหาวิธีที่จะทำให้สมาชิกในทีมมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

ไม่เจ็บป่วย คำถามคือ แล้วบริษัทจะต้องทำอย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้? แล้วอะไรคือปัจจัยอันแท้จริงที่จะช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อ

มการทำงานที่เอื้อต่อสุขภาพที่ดี?

“สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อสุขภาพนั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อองค์กรมีกลยุทธ์ทางแบรนด์และทางธุรกิจที่กำหนดไว้อย่างดี

และมีการควบคุมบังคับบัญชาลดหลั่นลงไปยังส่วนต่างๆตามสายงาน ความสำเร็จของพนักงานแต่ละคนได้รับการยอมรับ

มุ่งเน้นเรื่องการทำงานกันเป็นทีมพนักงานมีอุปกรณ์ในการทำงานที่พร้อมใช้งานและได้รับมอบหมายงานที่ท้าทายซึ่งช่วยกระตุ้นให้

พวกเขาสร้างผลงานที่ดีที่สุด”กล่าวโดย David Shaw ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาหลักของ บริษัท Courageous Brand

ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาที่ช่วยให้องค์กรเสริมสร้างให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น

และสามารถขยายศักยภาพของพวกเขาได้เป็นอย่างดี

 

 

 

ตามความเห็นของ David Shaw วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุตามเป้าหมายดังกล่าวได้ก็คือ การส่งเสริมด้านการสื่อสาร “ต้องสื่อสารให้พนักงานทุกคนทราบอย่างชัดเจนว่า การทำงานในแต่ละวันของพวกเขา มีส่วนสำคัญที่จะช่วยบริษัทให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไรบ้าง การส่งเสริมด้านการสื่อสาร สามารถทำผ่านระบบความดีความชอบ (merit) ผ่านการจัดให้มีการรวมกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ความสนใจ ให้คนอื่นๆฟังและร่วมแสดงความคิดเห็น แบบที่เรียกว่า coffee talks รวมทั้งจัดกิจกรรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมขึ้นเป็นประจำ” David Shaw กล่าว

การสื่อสารสิ่งดีๆนั้นก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย เพราะการพูดคุยสื่อสารคือรากฐานที่สำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการสื่อสารแบบสองทางระหว่างเพื่อนร่วมงาน และการสื่อสารขึ้นลงไปยังลำดับชั้นต่างๆ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งในการสื่อสาร จะช่วยทำให้การทำงานง่ายขึ้น และเกิดประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับพนักงานทุกคน นับว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับ “การส่งเสริมให้เกิดความคิดใหม่ๆ” เพราะเป็นการดึงดูดให้พนักงานจากส่วนต่างๆทั้งองค์กรให้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

วิธีที่ดีในการสร้างความผูกพันกับพนักงานคือ การทำให้มั่นใจว่าพนักงานมีโอกาสสำหรับนำเสนอข้อมูลในการการตัดสินใจในบริเวณที่มีผลกระทบต่อการทำงานและองค์กรในภาพรวม พนักงานมักนำมาซึ่งความคิดดีๆจึงควรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทุกเมื่อหากเป็นไปได้ เมื่อนำความคิดเห็นของพนักงานมาใช้จริงและเกิดผลในเชิงบวก จะเป็นการสนับสนุนให้สมาชิกในทีมอื่นๆกล้าที่จะรับผิดชอบงานของตนมากยิ่งขึ้น

 

 

การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement) เป็นเครื่องมืออันทรงพลังอีกตัวหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม การให้รางวัลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เบี้ยขยัน การขึ้นเงินเดือน หรือการให้โบนัส เท่ากับเป็นการแสดงให้เห็นว่าองค์กรให้ความสำคัญกับพนักงาน และในขณะเดียวกัน ก็ช่วยเสริมสร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมให้พนักงานทำงานให้ดียิ่งขึ้น พนักงานจะรู้สึกดีเมื่อรู้สึกว่าการทุ่มเททำงานอย่างหนักของพวกเขาได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับรางวัลในรูปแบบของเงินโบนัสที่เกิดจากผลการปฎิบัติงานที่ดี

 

 

 

จากมุมมองในเชิงทรัพยากรบุคคล การที่เน้นความสนใจที่เหมาะสม

ไปยังเรื่อง วิธีปฏิบัติในการจ้างงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน

สามารถสร้างความแตกต่างได้เช่นกัน เพราะนั่นหมายถึงว่า

ได้มีการจ้างคนที่เหมาะสมให้เข้าไปทำงานในตำแหน่งที่ตรงกับทักษะ

ความสามารถและความสนใจ  โดยปกติแล้ว ความพึงพอใจใน

การทำงานของพนักงานจะสูงสุดเมื่อพนักงานสามารถใช้จุดเด่น

ของตนแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆใน

ขณะที่เติบโตไปในตำแหน่งหน้าที่การงานของพวกเขา ในขณะเดียวกัน

ฝ่ายบริหารก็ควรเปิดโอกาสให้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบ

ภายในที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่า พนักงานได้ทำงานในตำแหน่งงาน

ที่เหมาะสมตามความสามารถ อย่างไรก็ดี หากมีพนักงานคนไหน

ไม่สามารถทำงานในตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า

พนักงานคนนั้นจะไม่เหมาะกับหน้าที่รับผิดชอบอื่นๆในองค์กรไปด้วย

 

 

 

เราทุกคนต่างต้องการที่จะสามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ด้วยตนเอง

และการที่องค์กรสนับสนุนให้พนักงานได้ทำงานในแบบที่พวกเขาต้องการ

องค์กรจะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง

นอกจากนั้น ยังเป็นการช่วยเพิ่มขวัญกำลังใจในการทำงาน เพราะเมื่อ

การทำงานแบบที่ผู้บริหารเน้นการกำกับดูแลและควบคุมงานของ

ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิดจนถึงระดับรายละเอียดของงาน

(Micro-management) ถูกกำจัดออกไป ความรู้สึกว่า “ถูกบังคับให้ทำ”

จะลดลง และพนักงานจะเริ่มทำหน้าที่ของพวกเขาอย่างเต็มที่อย่าง

ภาคภูมิใจในความเชี่ยวชาญของตนและแสดงความสามารถอย่าง

เต็มศักยภาพมากกว่าทำงานด้วยความรู้สึกว่า “ต้องทำ”

 

 

 

 

 

 

 

 

การส่งเสริมให้พนักงานทำงานอย่างชาญฉลาดมากกว่าทำงานหนัก จะช่วยให้พนักงานประสบความสำเร็จ และมีความสุขในการทำงานมากขึ้น ซึ่งองค์กรจำต้องสื่อให้พนักงานทราบอย่างชัดเจนว่า องค์กรมีความคาดหวังเรื่องผลการปฏิบัติงานอย่างไร รวมทั้งมีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่า ปริมาณงานที่พนักงานรับผิดชอบนั้นมีความเหมาะสม และมีการจัดสรรอย่างดี ไม่มาก ไม่น้อย ไม่หนักเกินไป ตามความเห็นของ David Shaw ในขณะที่ปริมาณงานที่พนักงานรับผิดชอบนั้นเป็นปัจจัยสำคัญต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน ผู้บริหารควรเป็นผู้กำหนดว่าปริมาณงานแค่ไหนคือมากเกินไป “ภาวะความเป็นผู้นำ – โดยเฉพาะคุณสมบัติด้านการจัดการ - มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดสุขภาพจิต ซึ่งหมายรวมถึงความสามารถทางร่างกายและจิตใจ ให้พร้อมที่จะรับผิดชอบงานมากขึ้น” David Shaw กล่าว “ถ้าคุณมีพลัง มีแรงกระตุ้น มีแรงบันดาลใจ และมีความพร้อมในการทำงานให้ดีที่สุด สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นแรงผลักให้คุณทำงานออกมาได้ดีที่สุด”

 

 

 

Carine Rolland ผู้อำนวยการด้านการบริหารคนเก่งของ

อเด็คโก้เอเชียแปซิฟิก (Adecco APAC) ได้ให้ความเห็นเรื่องการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล หรือการให้ความเป็นส่วนตัวกับพนักงานว่า “พื้นที่ส่วนตัวที่เป็นเสมือนอาณาเขตส่วนตัวในการทำงานนั้น  อาจมีผลกระทบอย่างมากต่อทัศนคติและความสามารถในการทำงานของพนักงาน ปัจจัยต่างๆไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิโดยรอบในการทำงาน ความสว่างของแสงไฟในที่ทำงาน ระยะห่างระหว่างบุคคล และระดับเสียงในสถานที่ทำงาน ต่างมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยรวม  เป้าหมายคือ การสร้างสถานที่ทำงานที่รื่นรมย์ น่าทำงานให้กับพนักงาน และในขณะเดียวกันก็มักจะหมายถึง การปล่อยให้พวกเขามีอิสระในการจัดสภาพแวดล้อมในทำงานของพวกเขาเองด้วย  ฉันเรียนรู้เรื่องนี้จากประสบการณ์ตรงของตัวเองว่า เรื่องนี้นับเป็นปัจจัยเชิงบวกจริงๆ”

 

 

 

 

 

การเจ็บไข้ได้ป่วยอาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพใน

การทำงานลดลง และในโลกของการทำงานทุกวันนี้ การเจ็บไข้ได้ป่วยกลาย

เป็นปัญหาที่แท้จริงที่ส่งผลกระทบต่อหลายๆองค์กร เมื่อพนักงานโทรมาขอ

“ลาป่วย” ก็เท่ากับว่าบริษัทสูญเสียผลิตภาพในการทำงานของพนักงานผู้นั้น

ไปอย่างน้อยหนึ่งวันหรือมากกว่า สิ่งที่บริษัททำได้ก็แค่เพียง อวยพรขอให้

พวกเขาฟื้นตัวหายป่วยอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า

พนักงานที่โทรมาขอ “ลาป่วย” นั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะ “ป่วย” จริงๆไปซะทุกคน

ดังนั้น หากองค์กรไหนมีพนักงานโทรมาขอ “ลาป่วย” หลายๆคนเป็นประจำ

องค์กรควรจะมีวิธีจัดการรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร?  หรือถ้าจะให้ดี

ไปกว่านั้นองค์กรควรทำอย่างไรเพื่อส่งเสริมให้พนักงานของพวกเขามี

สุขภาพดีและลาป่วยให้น้อยลงได้?


วิธีการหนึ่งที่ควรทำก็คือ การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานมีสุขภาพแข็งแรง

David Shaw แนะนำว่าควรมีการให้โบนัสกับพนักงานที่มีประวัติการทำงาน

ที่ดีไม่เคยขาดลามาสาย  นอกจากนั้น ควรจัดให้มีแพทย์ประจำบริษัท

ไม่ว่าจะอยู่ในอาคารสำนักงานเดียวกันหรืออยู่ออฟฟิศใกล้ๆ ให้พนักงานสามารถ

ไปพบแพทย์ได้ง่ายเมื่อจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล

อีกวิธีหนึ่งที่เรียบง่ายแต่ให้ประสิทธิภาพสูงคือ การส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีใน

ออฟฟิสซึ่งจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคและการเจ็บป่วย

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดหาอุปกรณ์ล้างมือทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค

ประจำออฟฟิศ ในขณะเดียวกันผู้บริหารยังควรสนับสนุนให้พนักงาน

ที่มีอาการป่วยลาหยุดพักรักษาตัวที่บ้านมากกว่ามาทำงานแล้วอาจทำให้

พนักงานคนอื่นป่วยตามไปด้วย องค์กรยอมให้พนักงานลาป่วยหนึ่งคนเพียง

ไม่กี่วัน ยังดีกว่าการที่พนักงาน 50-60%ของทีมงานที่ทำงานร่วมกับ

พนักงานที่ป่วยต้องป่วยตามไปด้วย 


อย่างไรก็ดี ในบางสถานการณ์ที่พนักงานขอ “ลาป่วย” แต่ไม่ได้ป่วยจริง

และการลาป่วยถูกนำมาใช้เมื่อพนักงานรู้สึกไม่อยากมาทำงาน

แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะแยกว่าพนักงาน ป่วยจริง หรือ ป่วยการเมือง

สิ่งที่องค์กรสามารถทำได้คือให้หัวหน้างาน “เปิดใจพูดคุยกับพนักงาน”

David Shaw แนะนำว่า“เมื่อคุยแล้วก็ให้พิจารณาดูว่า พนักงานคนไหน

เจ็บป่วยเรื้อรังจริง หรือพนักงานคนไหนป่วยการเมือง สำหรับพนักงานที่

เจ็บป่วยเรื้อรังจริงก็ให้หาทางช่วยเหลือเพื่อให้หายป่วย แต่ในกรณี

ป่วยการเมือง ควรมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้น สื่อสารเป็นนัย

ว่าคุณจับตามองพฤติกรรมของเขาอยู่” 


ในท้ายที่สุด แม้ว่าการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อสุขภาพ

เสริมสร้างประสิทธิภาพและสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงาน

ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารจัดการ อย่างไรก็ตาม ยังหมายถึง

ความสามารถในการคัดพนักงานที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างต่อเนื่องออกไปด้วย ตัวอย่างเช่นพนักงานที่ลาหยุดลาป่วยเป็นประจำ

ในขณะที่เก็บรักษาคนเก่ง คนขยันจริงๆให้อยู่กับองค์กร  องค์กรจำเป็น

ต้องกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานพร้อมที่จะเติมพลังให้พวกเขา

ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยทำให้พนักงานสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ

การทำงานและมีขวัญกำลังใจในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น

 
Download Full Version

อเด็คโก้ประเทศไทย เป็นผู้นำและเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ เกี่ยวกับงานทรัพยากรบุคคล ไม่ว่าจะเป็นด้าน การสรรหาพนักงานและการจัดจ้างพนักงานประจาและชั่วคราว การให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล การฝึกอบรม การพัฒนาบุคลากร และบริการให้คำปรึกษาด้านสายอาชีพ

ด้วยประสบการณ์กว่า 26 ปีในประเทศไทย บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาระบบเครือข่าย และ ความเชี่ยวชาญ ชำนาญด้านงานบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบริษัทต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบไปด้วย 10 กลุ่มธุรกิจ โดยมีบุคลากรของบริษัทฯ กว่า 10,000 คน ปฏิบัติ หน้าที่ในบริษัทต่าง ๆ ในแต่ละวัน ภายใต้ระบบโครงสร้างภายในอันแข็งแรงด้วยการปฏิบัติงานของพนักงาน กว่า 200 คน

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.adecco.co.th