ที่จริงแล้ว เทรนด์การคัดเลือกพนักงานจากทักษะโดยตรง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการสรรหาพนักงานเลยด้วยซ้ำ เห็นได้จากการที่องค์กรต่างๆ ไฮไลท์ทักษะที่ต้องการสำหรับงานใน job description แทนที่จะพูดถึงวุฒิการศึกษาหรือคุณสมบัติอื่นๆผลลัพธ์ที่ได้คือ องค์กรกว่า 92 เปอร์เซ็นต์ รับพนักงานที่ไม่เหมาะกับงานน้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนั้น พนักงานที่เข้ามาโดยไม่มีใบปริญญาเบิกทาง มีแนวโน้มที่จะทำงานอยู่กับบริษัทนานกว่าพนักงานที่มีใบปริญญา
ข้อดีอีกอย่างคือองค์กรจะมีความยืดหยุ่นในการเลือกทาเลนท์มารับตำแหน่งงานมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องยึดติดกับกรอบเคนดิเดทที่มีคุณวุฒิบางอย่างเท่านั้น แต่ไม่มีทักษะที่จำเป็นต่องาน
ในมุมของคนที่มองหางาน skills-based hiring เปิดโอกาสให้คุณได้ทำงานในตำแหน่งที่ใช่ เหมาะกับทักษะและประสบการณ์โดยตรงมากขึ้น พร้อมกับผลักดันให้เกิด mind set พัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง อย่างไรก็ตาม แม้ทักษะจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น แต่การศึกษาก็ยังคงเป็นพื้นฐานหลักที่จำเป็น ดังนั้น การสร้างสมดุลระหว่างสองสิ่งนี้ จะช่วยเสริมให้คุณเป็นแคนดิเดทที่ครบเครื่องมากขึ้น และเพื่อช่วยให้คุณมีความโดดเด่น พร้อมคว้างานที่ใช่อย่างมั่นใจ เรามีเคล็ดลับดีๆ มาฝาก
- บางครั้ง งานในฝันที่เล็งไว้ อาจต้องใช้ทักษะที่ไม่ตรงกับความถนัดของคุณ ดังนั้น หมั่นติดตามทักษะที่เป็นที่ต้องการของตลาด และเพิ่มมูลค่าให้กับตัวเองผ่านการเข้าคอร์สพัฒนาทักษะ เว็บบินาร์ หรือเวิร์คชอปเสริมทักษะพิเศษ
- คอยมองหางานที่ใช่ ศึกษาดูว่าใน job description ระบุทักษะที่ต้องการแบบไหน หากตรงกับความถนัดของคุณ ก็อย่าลืมไฮไลท์ทักษะพิเศษในเรซูเม่ โปรไฟล์ LinkedIn และจดหมาย cover letter เพื่อสร้างความโดดเด่นและความน่าสนใจเหนือแคนดิเดทคนอื่นๆ
- เมื่อมีทักษะที่จำเป็นแล้ว ก็อย่าลืมฝึกใช้ทักษะนั้นบ่อยๆ การลับฝีมือให้คมเอาไว้ เป็นประโยชน์กับคุณแน่นอนโดยเฉพาะในตอนสัมภาษณ์งาน เนื่องจากบริษัทอาจเจอแคนดิเดทที่โปรไฟล์เด่น แต่ไม่สามารถแสดงทักษะให้ดูได้อย่างที่เขียนไว้อยู่บ่อยครั้ง หากผู้สัมภาษณ์งานขอให้คุณโชว์ฝีมือ และคุณสามารถทำได้จริง โอกาสที่จะคว้างานที่ใช่ ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ที่มา:
https://www.linkedin.com/pulse/preparing-2025-top-recruitment-trends-strategies-final-w5nxf/
https://www.forbes.com/sites/carolinecastrillon/2023/02/12/why-skills-based-hiring-is-on-the-rise/