ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นเทรนด์ล่าสุดอย่างเทคโนโลยี AI หรือความหลากหลายในที่ทำงาน (DE&I) เปลี่ยนแปลงโลกของการทำงาน และกลายเป็นปัจจัยหลักของแคนดิเดทในการเลือกสมัครงาน ซึ่งความผันผวนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ กลายเป็นโจทย์ข้อสำคัญขององค์กรในการดึงดูดและรักษาทาเลนท์มากฝีมือไว้ในระยะยาว
เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้นำองค์กรก้าวเข้าสู่ปี 2025 อย่างมั่นใจ เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับความคาดหวังของทาเลนท์ พร้อมเผยเคล็ดลับในการพลิกโฉมองค์กรเพื่อดึงดูดงทาเลนท์ยุคใหม่ และกลยุทธ์เด็ดในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่พร้อมผลักดันพนักงาน เพื่อรักษาทาเลนท์ตัวท็อปให้เติบโต อยู่คู่บริษัทไปอีกนาน
ทาเลนท์ปรับตัวกับเทรนด์ล่าสุดอย่างไร
- เศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงและงานที่มีความไม่แน่นอน: จากรายงาน ‘Working through change: adapting to an AI-driven world of work’ ของเรา คนทำงานกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ กังวลเกี่ยวว่างานของตัวเองจะไม่มีความมั่นคงในระยะยาว ขณะที่พนักงานจำนวน 48 เปอร์เซ็นต์ เผยว่าเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนส่งผลกระทบโดยตรงกับงานที่ทำอยู่
- โลกของการทำงานยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย AI: เทรนด์การปรับใช้ AI ในที่ทำงาน ทำให้คนทำงานกว่า 23 เปอร์เซ็นต์รู้สึกว่าทักษะของตัวเองมีความจำเป็นน้อยลง ขณะที่ 21 เปอร์เซ็นต์ ก็บอกว่าได้รับผลกระทบที่ร้ายแรงจาก AI ถึงขั้นที่คิดจะเปลี่ยนงาน และอีก 13 เปอร์เซ็นต์คาดว่าตัวเองกำลังจะต้องเสียงานให้กับ AI
- การปรับตัวอย่างฉับพลัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต: ขณะที่สภาพแวดล้อมการทำงานในทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 40 เปอร์เซ็นต์ของคนทำงานทั่วโลกรับภาระงานมากเกินไป จนมีอาการ burn out ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
- คนทำงานต้องการเสริมทักษะให้ตัวเอง: ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัญหาแรงงานขาดแคลนทักษะกลายเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดทาเลนท์ โดยคนทำงานกว่า 76 เปอร์เซ็นต์ ออกความเห็นว่าองค์กรควรให้ความสำคัญกับการฝึกฝนและเสิรมทักษะให้กับพนักงาน ก่อนที่จะมองหาแคนดิเดทจากภายนอกองค์กร
ติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดในโลกของการทำงาน และเจาะลึกผลกระทบของเทคโนโลยี AI ในที่ทำงาน จากรายงานล่าสุดของเราอย่าง Working through change: adapting to an AI-driven world of work.
5 กลยุทธ์ Retain พนักงานที่คุณต้องรู้
1. เตรียมพนักงานให้พร้อมทำงานกับ AI
จริงอยู่ ที่เราเห็น AI สร้างผลกระทบเชิงลบต่อคนทำงานบางกลุ่มในหลายอุตสาหกรรม แต่ในอีกมุมหนึ่ง เทคโนโลยีนก็สร้างประโยชน์ให้กับคนทำงานอีกหลายกลุ่มเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ลดภาระในขั้นตอนงานที่ต้องทำซ้ำ อย่างการ input คัดแยกและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งช่วยเร่งให้ workflow ดำเนินไปได้เร็วขึ้น พนักงานจำนวน 71 เปอร์เซ็นต์ จึงพร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับโลกของการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI ขณะที่อีก 51 เปอร์เซ็นต์ มีความเห็นว่าการมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับ AI จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานมากขึ้น
รายงานของเราพบว่าพนักงานกว่า 97 เปอร์เซ็นต์ที่ผ่านการฝึกฝนการใช้งาน AI สามารถนำทักษะที่เรียนรู้มาปรับใช้ในการทำงานได้จริง ดังนั้น ผู้นำองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับการมอบโอกาสในการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับ AI ให้กับพนักงาน เริ่มต้นจากขั้นตอนง่ายๆ เช่น การกลยุทธ์ AI ให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร ผลักดันให้พนักงานสร้างความคุ้นเคยกับ AI และส่งเสริมให้พนักงานเข้าโปรแกรมฝึกฝนทักษะที่เกี่ยวกับ AI เพื่อให้พร้อมเดินหน้าสู่โลกแห่งการทำงานยุคใหม่
2. เปิดโอกาสให้พนักงาน Upskill
แม้ว่าการ upskill หรือการเสริมทักษะให้พนักงาน จะเป็นวิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีประสิทธิภาพ แต่หลายบริษัทก็ยังไม่เห็นความสำคัญของ internal mobility และยังไม่ให้โอกาพนักงานย้ายตำแหน่งงานภายในองค์กร โดยรายงานของเราพบว่าผู้บริหารกว่า 65 เปอร์เซ็นต์ ยอมรับว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะส่งผลกระทบต่อบริษัท แต่จากจำนวนนี้ กลับมีเพียงครึ่งเดียวที่เริ่มปรับใช้กลยุทธ์ internal mobility อย่างจริงจัง
พนักงานควรได้รับโอกาสแสดงฝีมืออย่างเต็มที่จากผู้บริหาร ด้วยการพูดคุยหารือเพื่อออกแบบโปรแกรมฝึกฝนทักษะที่เหมาะกับพนักงานแต่ละคนโดยเฉพาะ
การส่งเสริมพนักงานให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนสำคัญในการยกระดับองค์กร สร้างข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง และยังช่วยรักษาทาเลนท์คนเก่งให้อยู่คู่กับองค์กรในระยะยาวอีกด้วย เนื่องจากรายงานของเราพบว่า 67 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานที่ได้รับโอกาสฝึกฝนทักษะเป็นประจำมีแนวโน้มที่จะอยู่กับองค์กรต่อไปอีก 12 เดือน
3. ออกแบบตารางการทำงานที่ยืดหยุ่น
นับตั้งแต่ไตรมาศแรกของปี 2024 ที่ผ่านมา บริษัทที่มีนโยบายให้พนักงานเข้าทำงานที่ออฟฟิศแบบเต็มเวลาได้ลดจำนวนลงกว่าสี่เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นหรือ flexible work เป็นเทรนด์การทำงานที่จะอยู่กับเราไปอีกนาน [1]
โดยที่ผ่านมา เราได้เห็นแล้วว่าพนักงานทุกคนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าตัวจะไม่ได้อยู่ที่ออฟฟิศ เรายังได้เห็นอีก ว่าการทำงานจากที่บ้านหรือทำงานจากทางไกล ช่วยลดความเครียดและเวลาที่เสียไปในการเดินทางไป-กลับจากที่ทำงานในแต่ละวัน และยังเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถบริหารจัดการเวลาส่วนตัวได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
ดังนั้น การจัดตารางงานที่ยืดหยุ่นให้กับพนักงาน จึงเป็นสิ่งจำเป็นในกลยุทธ์รักษาทาเลนท์ในระยะยาว เนื่องจากในปัจจุบัน การทำงานรูปแบบ hybrid หรือแบบ work from home เต็มรูปแบบ ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน
4. ให้ความสำคัญกับนโยบายการยอมรับความแตกต่างหลากหลาย (DE&I)
คนทำงานกว่า 81 เปอร์เซ็นต์ พร้อมที่จะลาออก หากบริษัทไม่ให้ความสำคัญกับนโยบาย DE&I นอกจากนั้น 54 เปอร์เซ็นต์ของคนทำงานเหล่านี้ ยังพร้อมจะหางานใหม่และเลือกทำงานที่อาจจะได้ได้เงินเดือนน้อยกว่าแต่มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุน DE&I มากกว่า [2] ด้วยเหตุนี้ จึงปฏิเสธิไม่ได้เลย ว่า DE&I คือองค์ประกอบสำคัญสำหรับองค์กรในการดึงดูดแคนดิเดทและรักษาทาเลนท์มากฝีมือ
การให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดรับพนักงานทุกเพศ ทุกช่วงวัย ทุกเชื้อชาติ และรวมไปถึงต้อนรับผู้พิการเข้ามาร่วมงาน จึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของหลายองค์กรในทุกวันนี้
เพียงแค่ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เปิดรับพนักงานทุกๆ คนอย่างอบอุ่น พร้อมกับต่อยอดด้วยกลยุทธ์สัมภาษณ์พนักงานแบบ blind interview ซึ่งคัดเลือกแคทดิเดทจากความสามารถเป็นหลักโดยที่ไม่มีข้อมูลของเพศหรือเชื้อชาติ ก็สามารถช่วยขจัดอัคติในการรับพนักงาน และเพิ่มความหลากหลายในองค์กรให้มากขึ้นแล้ว
การวางนโยบายต่อต้านการเลือกปฏิบัติและส่งเสริมคอร์สฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างความหลากหลาย ยังช่วยให้พนักงานทุกคนมีความเสมอภาคและความสำคัญที่เท่าเทียมกันอีกด้วย
5. อย่าลืมคิดถึงสุขภาพของพนักงาน
สภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดกว้างและปลอดภัย มาควบคู่กับสุขภาพที่ดีของพนักงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาสุขภาพของพนักงานก็ยังคงเป็นเรื่องใหญ่ในหลายบริษัททั่วโลก โดยคนทำงานกว่า 54 เปอร์เซ็นต์ในสหราชอาณาจักร เผยว่าภาระงานที่สูงเกินไปส่งผลให้เกิดอาการ burn out [3] และในปีที่ผ่านมา ประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มคนทำงานที่หมดไฟนั้น ก็ได้ลดน้อยลงไปกว่า 68% เมื่อเทียบกับพนักงานคนอื่นที่มีสุขภาพจิตที่ดี เพราะฉะนั้น ผู้นำองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และพนักงานทุกคนควรได้รับความช่วยเหลือด้านสุขภาพ ทั้งกายและใจ
ปิดท้าย
Employee retention หรือการรักษาพนักงานในองค์กรเป็นมากกว่าการวางกลยุทธ์ การให้ความสำคัญกับพนักงาน การรับฟังเสียงของพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม และการสนับสนุนพนักงานในทุกๆด้าน คือเครื่องชี้วัดความพึงพอใจของพนักงานในองค์กร โดยห้าเคล็ด (ไม่) ลับที่เรานำมาฝากในบทความนี้ จะช่วยให้คุณเริ่มต้นปีใหม่อย่างมีเป้าหมาย พร้อมดึงดูดและรักษาทาเลนท์คนเก่งไว้ให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กรได้อย่างมั่นคง
Ref:
[1] Forbes
[2] LinkedIn
[3] Harkn