คุณยังจำครั้งแรกที่ต้องเลือกคนเข้าทีมได้ไหม? หลายคนคงเคยคิดไม่ตก เมื่อใจหนึ่งก็อยากได้คนเก่ง แต่อีกใจหนึ่งก็ลังเลว่าควรมีลูกน้องที่เก่งกว่าเราหรือเปล่า แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วมีเหตุผลดี ๆ มากมายที่ทำให้เราไม่จำเป็นต้องลังเลกับเรื่องนี้เลย
.
ความกังวลเมื่อคิดว่าจะมีลูกน้องที่เก่งกว่าถือเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะกับคนที่เพิ่งเป็น Manager ได้ไม่นาน เพราะคนเรามีสัญชาตญาณเรื่องความปลอดภัย เราจึงอาจกังวลว่าลูกน้องที่เก่งจะทำให้ภาพลักษณ์ความเป็นหัวหน้าของเราสั่นคลอน หรือกังวลว่าเราจะดูแลคนเก่งเหล่านั้นได้ดีพอหรือไม่
.
หากเราติดกับดักความกังวลนี้ เราอาจตัดสินใจเลือกคนที่ไม่ได้เก่งมากนัก แต่เป็นคนที่เราสบายใจ ดูคล้ายคลึงกับเราหรือคนในทีม เข้ามาร่วมงาน ซึ่งอาจมีปัญหาตามมาคือหากคน ๆ นั้นทำงานไม่ได้ตามมาตรฐาน ก็จะส่งผลให้ performance โดยรวมของทีมลดลง ทำให้เราที่เป็นเจ้านายต้องมาตามแก้ไข หรือต้องมาทำงานนั้นเองๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน
.
การเลือกลูกน้องที่เก่งกว่า ซึ่งหมายถึงคนที่มีความสามารถเฉพาะด้านบางอย่างที่โดดเด่นกว่าเรา และสามารถเติมเต็มสิ่งที่เราและคนในทีมขาดได้ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพื่อสร้างทีมที่มี high performance อย่างแท้จริง
.
นอกจากนี้ การมีลูกน้องที่เก่งกว่ายังช่วยให้คนเป็นหัวหน้าได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพราะคนเก่งเหล่านี้มักมีข้อเสนอแนะและให้คำแนะนำได้ว่าควรทำอย่างไรในเรื่องต่าง ๆ การดูแลคนเก่งเหล่านี้ให้สามารถแสดงความสามารถได้เต็มที่ ยังเป็นความท้าทายที่ช่วยผลักดันให้คนเป็นหัวหน้าได้พัฒนาทักษะการบริหารและ leadership ได้อย่างดีอีกด้วย
.
เมื่อเราตัดสินใจเลือกลูกน้องที่เก่งเข้ามาแล้ว ข้อแนะนำในการบริหารคนกลุ่มนี้คือ 1.ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความคิดเห็นและแสดงความสามารถ 2.ทำให้พวกเขารู้ว่าเรามองเห็นคุณค่าในตัวพวกเขาเมื่อทำงานได้ดี ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่อวยจนเกินไปเพื่อไม่ให้พวกเขามี Ego สูงเกินไป และ 3.ช่วยผลักดันให้พวกเขาเก่งขึ้น เช่น ให้พวกเขาได้ทำงานที่อยู่นอกเหนือจาก comfort zone บ้าง เป็นต้น
.
การเลือกคนเก่งเข้ามาร่วมทีมจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เราในฐานะ Manager จะช่วยสร้างคุณค่าให้กับองค์กร บททดสอบต่อไปคือเราจะบริหารคนเหล่านี้ให้สามารถทำงานเป็นทีมและสร้างคุณค่าต่อยอดให้กับองค์กรได้มากแค่ไหน
.
สิ่งสำคัญข้อสุดท้ายที่เราควรรู้คือ การเป็นผู้นำไม่ได้หมายถึงว่าเราต้องเป็นคนเก่งที่สุดในทีม แต่สิ่งที่สำคัญกว่าสำหรับผู้นำคือการสร้างพื้นที่และบรรยากาศการทำงานที่ทุกคนจะสามารถเรียนรู้ เติบโตและได้แสดงความสามารถของตนเองไปพร้อมๆ กัน เหมือนที่ ‘สตีฟ จอบส์’ เคยกล่าวที่ว่า “It doesn’t make sense to hire smart people and tell them what to do. We hire smart people so they can tell us what to do.”
.
อ้างอิง: https://www.fastcompany.com/.../how-to-manage-people-who...
https://www.forbes.com/.../how-to-overcome.../
.
.
ความกังวลเมื่อคิดว่าจะมีลูกน้องที่เก่งกว่าถือเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะกับคนที่เพิ่งเป็น Manager ได้ไม่นาน เพราะคนเรามีสัญชาตญาณเรื่องความปลอดภัย เราจึงอาจกังวลว่าลูกน้องที่เก่งจะทำให้ภาพลักษณ์ความเป็นหัวหน้าของเราสั่นคลอน หรือกังวลว่าเราจะดูแลคนเก่งเหล่านั้นได้ดีพอหรือไม่
.
หากเราติดกับดักความกังวลนี้ เราอาจตัดสินใจเลือกคนที่ไม่ได้เก่งมากนัก แต่เป็นคนที่เราสบายใจ ดูคล้ายคลึงกับเราหรือคนในทีม เข้ามาร่วมงาน ซึ่งอาจมีปัญหาตามมาคือหากคน ๆ นั้นทำงานไม่ได้ตามมาตรฐาน ก็จะส่งผลให้ performance โดยรวมของทีมลดลง ทำให้เราที่เป็นเจ้านายต้องมาตามแก้ไข หรือต้องมาทำงานนั้นเองๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน
.
การเลือกลูกน้องที่เก่งกว่า ซึ่งหมายถึงคนที่มีความสามารถเฉพาะด้านบางอย่างที่โดดเด่นกว่าเรา และสามารถเติมเต็มสิ่งที่เราและคนในทีมขาดได้ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพื่อสร้างทีมที่มี high performance อย่างแท้จริง
.
นอกจากนี้ การมีลูกน้องที่เก่งกว่ายังช่วยให้คนเป็นหัวหน้าได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพราะคนเก่งเหล่านี้มักมีข้อเสนอแนะและให้คำแนะนำได้ว่าควรทำอย่างไรในเรื่องต่าง ๆ การดูแลคนเก่งเหล่านี้ให้สามารถแสดงความสามารถได้เต็มที่ ยังเป็นความท้าทายที่ช่วยผลักดันให้คนเป็นหัวหน้าได้พัฒนาทักษะการบริหารและ leadership ได้อย่างดีอีกด้วย
.
เมื่อเราตัดสินใจเลือกลูกน้องที่เก่งเข้ามาแล้ว ข้อแนะนำในการบริหารคนกลุ่มนี้คือ 1.ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความคิดเห็นและแสดงความสามารถ 2.ทำให้พวกเขารู้ว่าเรามองเห็นคุณค่าในตัวพวกเขาเมื่อทำงานได้ดี ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่อวยจนเกินไปเพื่อไม่ให้พวกเขามี Ego สูงเกินไป และ 3.ช่วยผลักดันให้พวกเขาเก่งขึ้น เช่น ให้พวกเขาได้ทำงานที่อยู่นอกเหนือจาก comfort zone บ้าง เป็นต้น
.
การเลือกคนเก่งเข้ามาร่วมทีมจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เราในฐานะ Manager จะช่วยสร้างคุณค่าให้กับองค์กร บททดสอบต่อไปคือเราจะบริหารคนเหล่านี้ให้สามารถทำงานเป็นทีมและสร้างคุณค่าต่อยอดให้กับองค์กรได้มากแค่ไหน
.
สิ่งสำคัญข้อสุดท้ายที่เราควรรู้คือ การเป็นผู้นำไม่ได้หมายถึงว่าเราต้องเป็นคนเก่งที่สุดในทีม แต่สิ่งที่สำคัญกว่าสำหรับผู้นำคือการสร้างพื้นที่และบรรยากาศการทำงานที่ทุกคนจะสามารถเรียนรู้ เติบโตและได้แสดงความสามารถของตนเองไปพร้อมๆ กัน เหมือนที่ ‘สตีฟ จอบส์’ เคยกล่าวที่ว่า “It doesn’t make sense to hire smart people and tell them what to do. We hire smart people so they can tell us what to do.”
.
อ้างอิง: https://www.fastcompany.com/.../how-to-manage-people-who...
https://www.forbes.com/.../how-to-overcome.../
.