Future-Ready Workers คืออะไร?
Future-ready workers คือทาเลนท์กลุ่มเล็กๆ ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานเหล่านี้มาพร้อมข้อได้เปรียบมากมาย อีกทั้งยังสามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา โดยรายงานล่าสุดของ The Adecco Group พบว่าพนักงานที่พร้อมเดินหน้าสู่อนาคตเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกับ AI และมองหาวิธีปรับใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในงานของตัวเองได้อย่างไม่มีปัญหา
เนื่องจาก future-ready workers มองว่า AI มาพร้อมโอกาสพัฒนาทักษะและต่อยอดในสายอาชีพ พนักงานกลุ่มนี้จึงทุ่มเทเวลาส่วนตัวไปกับการศึกษา AI และเสริมสร้างทักษะที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งความมุ่งมั่นนี้ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พวกเขาทำงานได้ดีกว่าพนักงานทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ตลาดแรงงานทั่วโลกมี future-ready workers อยู่เพียง 11 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
เจาะลึกข้อมูลของ future-ready workers และติดตามเทรนด์ใหม่ที่พร้อมเข้ามาเปลี่ยนแปลงตลาดทาเลนท์ได้ในรายงาน Working through change: adapting to an AI-driven world of work ดาวน์โหลดเลย!
จะหา Future-Ready Workers ได้ที่ไหน?
รายงาน Working through change: adapting to an AI-driven world of work พบว่า future-ready workers ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศอย่าง อินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา โดยพนักงานที่พร้อมสำหรับอนาคตจำนวน 32 เปอร์เซ็นต์ ทำงานอยู่ในภาคส่วนบริการด้านการเงิน ประกัน และกฏหมาย นอกจากนั้น อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ร้านค้า อีคอมเมิร์ซ และซัพพลายเชน ยังมี future-ready workers อยู่ 18 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในอุตสาหกรรมขนส่ง ยานยนต์และเทคโนโลยี มีสัดส่วนของพนักงานที่พร้อมปรับตัวกับอนาคตอยู่ที่ 14 เปอร์เซ็นต์ โดยมีอุตสาหกรรมโรงงานและโลจิสติกส์ตามมาที่ 11 เปอร์เซ็นต์
โดยตำแหน่งงานที่พบ future-ready workers ได้มากที่สุดคือ ตำแหน่งผู้จัดการ (56%) รองลงมาคือตำแหน่งผู้จัดการอาวุโส (25%) ผู้นำองค์กร (9%) ตำแหน่งที่นอกเหนือจากผู้จัดการ หรือ non-manager (8%) และงานระดับ entry-level (2%)
พัฒนาแรงงานในองค์กรให้เป็น Future-Ready Workforce
โดยพื้นฐานแล้ว future-ready workers เกิดขึ้นได้เพราะนายจ้าง พนักงานกลุ่มนี้คือกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากนายจ้างในด้านการพัฒนาในสายอาชีพอยู่เสมอ เช่นการฝึกอบรมพัฒนาทักษะหรือการโยกย้ายตำแหน่งงานภายในองค์กี โดยรายงานล่าสุดของ The Adecco Group พบว่า 93 เปอร์เซ็นต์ของทาเลนท์กลุ่มนี้ ได้รับการสนับสนุน ให้เข้าร่วมการอบรมสำหรับผู้นำองค์กรอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่าองค์กรสามารถพัฒนาพนักงานของตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคตได้
องค์กรสามารถเริ่มพัฒนาบุคลากรได้ง่ายๆ ด้วยสี่ขั้นตอนนี้
- ประเมิน: คอยสังเกตและประเมินทักษะของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีความเหมาะสมและสัมพันธ์กับงานที่ทำอยู่หรือไม่อย่างไร
- สื่อสาร: หมั่นเข้าหาและสื่อสารกับพนักงานโดยชี้ให้เห็นข้อที่สามารถพัฒนาและต่อยอดได้ พร้อมกับเสนอโอกาสในการสร้างความก้าวหน้าในกาทำงาน
- พัฒนา: จับมือกับพนักงานเพื่อร่วมกันออกแบบโปรแกรมพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคน
- ฝึกฝน: ลงทุนกับการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะให้กับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเทรนนิ่งแบบจริงจัง หรือการเรียนรู้ระหว่างการทำงาน (on-the-job learning)
สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก็คือ หากนายจ้างมุ่งมั่นพัฒนาพนักงานอย่างจริงจัง ก็จะสามารถสร้างให้เกิด กลุ่ม future-ready workers ในองค์กรได้ ซึ่งต่อไปในอนาคต คนกลุ่มนี้ก็พร้อมที่จะก้าวขึ้นมารับหน้าที่เป็นผู้นำองค์กรในที่สุดอย่างไรก็ตาม หากองค์กรละทิ้งหรือไม่ให้ความสนใจในด้านการพัฒนาอย่างจริงจัง พนักงานกลุ่มนี้ก็พร้อมที่จะเดินออกไปหาโอกาสในการทำงานกับบริษัทอื่นอย่างรวดเร็ว
โดยรายงานฉบับล่าสุดของ Adecco Group พบว่า future-ready workers จะทำงานให้กับองค์กรที่มองเห็นถึงความสำคัญของพวกเขาอย่างเหนียวแน่น กว่า 89 เปอร์เซ็นต์ของทาเลนท์กลุ่มนี้ ตั้งใจที่จะทำงานให้กับนายจ้างในปัจจุบันต่อไปมากกว่า 12 เดือน ขณะที่เกือบครึ่งหนึ่งของ future-ready workers เผยว่าจะหางานใหม่ภายในหนึ่งเดือนหากนายจ้างในปัจจุบันไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร
ชัดเจนว่าพนักงาน future-ready workers ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะและต่อยอดทางสายอาชีพ มากกว่าการเลื่อนตำแหน่งงานแบบดั้งเดิม ทาเลนท์กลุ่มนี้เข้าใจถึงความสำคัญของการปรับตัวและการขยับตำแหน่งงานที่ไม่เป็นเส้นตรง ดังนั้น นายจ้างจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างและพัฒนาแรงงานเพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายและก้าวขึ้นเป็นผู้นำในวันข้างหน้า
ปิดท้าย
เป็นที่รู้กันว่า ตลาดทาเลนท์อยู่ในสภาวะที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การมาถึงของ future-ready workers จึงเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนของความเปลี่ยงแปลงที่ไม่สิ้นสุดของตลาดแรงงาน แม้ว่าพนักงานที่พร้อมสำหรับความท้าทายในอนาคตยังเป็นกลุ่มทาเลนท์ที่ยังหาได้ยาก แต่ปัจจัยหลักในปัจจุบันเป็นเครื่องชี้วัดที่ชัดเจนว่าเราจะเห็น future-ready workers มากขึ้น และก้าวขึ้นเป็นผู้นำองค์ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน ดังนั้น องค์กรจึงต้องพร้อมที่จะปรับตัวและพัฒนาแรงงานเพื่อให้มีความสามารถในการรับมือกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่สิ้นสุด