แรงงานเปลี่ยนแปลง องค์กรต้องปรับตัว: อะไรคือสิ่งที่คนทำงานใน APAC ต้องการ?

มีนาคม 18, 2568 งานวิจัย/ผลสำรวจ
แรงงานเปลี่ยนแปลง องค์กรต้องปรับตัว: อะไรคือสิ่งที่คนทำงานใน APAC ต้องการ?

Adecco ได้จัดทำแบบสำรวจ ติดตามตลาดแรงงานที่ขับเคลื่อนโดยเทรนด์ระลอกใหม่ และเจาะลึกความเห็นของคนทำงานในประเทศเศรษฐกิจชั้นนำในภูมิภาค APAC อย่างประเทศออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย นิวซีแลนด์ สิงค์โปร์ ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศไทย 

 

มาดูกัน ว่าคนทำงานกว่า 8,997 คน ปรับตัวเข้ากับโลกของการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างไร และให้ความสำคัญกับสิ่งไหนเมื่อมองหางานใหม่  

 

เทรนด์ใหม่ที่ปรับเปลี่ยนการทำงาน   

มาเริ่มกันที่เทรนด์ระลอกใหม่ แบบสำรวจของเราพบว่า การเปลี่ยนผ่านสู่กระบวนการทำงานในรูปแบบดิจิทัล (Digitalization) และรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น คือ Mega Trend ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรและคนทำงานในภูมิภาค APAC มากที่สุด แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลขององค์กร ขณะที่คนทำงานให้ความสำคัญกับชีวิตการทำงานที่เคร่งครัดน้อยลง  

 

โดยประเทศไทยเป็นผู้นำในการเปิดรับ Digitization (74%) ตามาด้วยอินเดีย (64%) เวียดนาม (64%) และไต้หวัน (54%) ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่เปิดรับการทำงานที่ยืดหยุ่นมากที่สุดในกลุ่มประเทศ APAC เช่นกัน (74%) โดยมีอินเดีย (61%) ฮ่องกง (58%) และเวียดนาม (58%) เดินตามมาในทิศทางเดียวกัน  

 

อีกด้านหนึ่ง เทคโนโลยี AI ก็เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในกลุ่มประเทศชั้นนำที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีอย่าง สิงค์โปร์ (60%) ไต้หวัน (49%) และอินเดีย (42%) พร้อมกันนั้น นิวซีแลนด์เป็นประเทศเศรษฐกิจที่เปิดรับทั้ง Digitization (49%) และการทำงานที่ยืดหยุ่น (51%) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนสู่โลกของการทำงานทำงานยุคใหม่อย่างมีสมดุล
Top three megatrends  
  

ดาวน์โหลด Adecco Thailand Salary Guide 2025 เพื่อดูผลสำรวจฉบับเต็ม พร้อมหาคำตอบว่าทาเลนท์ทั่วภูมิภาค APAC ปรับตัวเข้ากับตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง  

 

ทาเลนท์หางานทางไหน? 

ในด้านช่องทางการหางานใหม่ Recruitment Agency ยังคงเป็นช่องทางหลักที่มีความสำคัญต่อคนหางาน (56%) โดยมีทาเลนท์ในประเทศไต้หวันเป็นกลุ่มที่หางานผ่าน Recruitment Agency มากที่สุดในภูมิภาค (80%) รองลงมาคือเกาหลีใต้ (78%) และเวียดนาม (77%)  

 

นอกจากนั้น เว็บไซต์ทางการของบริษัท ก็ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คนทำงานในกลุ่มประเทศ APAC ใช้มองหาโอากาสงานใหม่ โดยเฉพาะในประเทศสิงค์โปร์ (66%) และอินเดีย (53%) ในขณะที่การหางานใหม่ผ่านเครือข่ายคนรู้จักหรือเพื่อน เป็นที่นิยมในประเทศไต้หวัน (61%) และเวียดนาม (60%) 
Most used job search channels

การย้ายงาน

ในด้านการเปลี่ยนงาน  เราพบว่าทาเลนท์กว่า 62% ในประเทศออสเตรเลียมองหางานใหม่อยู่เป็นประจำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการรองรับการโยกย้านงานภายในประเทศ ขณะที่สิงค์โปร์แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการรักษาพนักงานคู่องค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 70% ที่เผยว่าไม่ได้มองหางานใหม่ เช่นเดียวกับไต้หวันและนิวซีแลนด์ที่คนทำงานมองหางานใหม่เพียง 30% และ 23% ตามลำดับ  

 

ในขณะที่เกาหลีใต้มีทั้งคนทำงานที่มองหางานใหม่ (46%) และคนที่ไม่ได้หางานใหม่ แต่ก็ไม่ปิดรับโอกาส (48%) ด้านฮ่องกงและไทย ก็แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการรองรับงานใหม่ในระดับหนึ่ง จากจำนวนคนหางานใหม่เป็นประจำที่ 38% และ 40% ตามลำดับ  

 

หากมองในภาพรวม มีคนทำงานในภูมิภาค APAC กว่า 42% ที่มองหางานใหม่ และอีก 47% ที่ไม่ได้หางานใหม่เป็นประจำ แต่ก็ยังเปิดใจรับโอากาสงานใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวในจังหวะใหม่ของตลาดแรงงาน ซึ่งมาพร้อมความท้าทายสำหรับองค์กร พร้อมกับโอกาสในการค้นพบทาเลนท์มากความสามารถในเวลาเดียวกัน   
Career aspirations across APAC

ปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนงาน   

เมื่อมองที่ปัจจัยที่ส่งผลให้คนทำงานตัดสินใจเปลี่ยนงานหรือยังคงทำงานที่เดิมต่อไปในระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจของเราพบว่าค่าตอบแทนและสวัสดิการ (77%) และ Work-Life Balance (48%) รวมทั้งโอกาสในการก้าวหน้าทางอาชีพ (44%) คือสิ่งที่คนทำงานให้ความสำคัญที่สุด   

 

โดยคนทำงานในแต่ละประเทศทั่วภูมิภาค APAC มองปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังนี้:    

 

  • ค่าตอบแทนและสวัสดิการ: ประเทศไทย (92%) ไต้หวัน (89%) อินเดีย (71%) และเวียดนาม (60%) ให้ความสำคัญกับค่าตอบแทนและความมั่นคงทางการเงิน 
  • Work-Life Balance: พร้อมกันนั้น ประเทศไทย (67%) อินเดีย (63%) ไต้หวัน (62%) และนิวซีแลนด์ (55%) ก็ยังให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว
  • โอกาสในการก้าวหน้าทางอาชีพ: สิงค์โปร์ (67%) และอินเดีย (62%) เป็นกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญกับโอกาสในการพัฒนาทางสายอาชีพมากกว่าประเทศอื่นๆ ใน APAC

 

ปัจจัยเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความต้องการของคนทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ความสำคัญกับทั้งความมั่นคงทางการเงิน และสุขภาพกายใจที่ดี โดยตัวเลขที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ  
What job seekers value most

การมาถึงของเทคโนโลยี GenAI 

ในปัจจุบัน GenAI กลายเป็นส่วนสำคัญของโลกการทำงานยุคใหม่ พร้อมกับเข้ามาเสริมประสิทธิภาพงานและสร้างตำแหน่งงานใหม่ในอุตสาหกรรมชั้นนำ โดยองค์กรทั่วโลกได้ปรับใช้เทคโนโลยี GenA เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ พร้อมกับใช้ AI ในการสร้างคอนเทนท์อย่างรวดเร็ว พัฒนากระบวนการทำงานให้ดำเนินไปอย่างเรียบเนียนขึ้นด้วยระบบอัตโนมัติ  ช่วยให้กระบวนการตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และแบ่งเบาภาระงาน ช่วยพนักงานสามารถโฟกัสกับงานสำคัญที่ต้องใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนได้มากขึ้น  

 

ในโลกของการทำงานร่วมกับ AI องค์กรทั่วภูมิภาค APAC ให้ความสำคัญกับการเสริมประสิทธิภาพงานและการพัฒนาทักษะของพนักงาน (Upskilling) โดยมีประเทศสิงค์โปร์และเวียดนามเป็นผู้นำด้านการพัฒนาคุณภาพงาน อีกด้านหนึ่ง อินเดีย ออสเตรเลีย ไทย และเวียดนามโฟกัสกับนโยบาย Upskill ขณะที่ไต้หวันและฮ่องกงให้ความสำคัญกับทั้งสองสิ่งอย่างเท่าเทียมกัน  

 

เมื่อตลาดแรงงานถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และผู้นำองค์กรวางเป้าหมายในระยะยาว ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับการวางกลยุทธ์จึงกลายเป็นที่ต้องการในประเทศเศรษฐกิจอย่าง ไต้หวัน สิงค์โปร์ และฮ่องกง ในขณะที่อินเดียและเวียดนาม ให้ความสำคัญกับทั้งการวางกลยุทธ์องค์กรและการพัฒนาทักษะของพนักงานเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมกันนั้น นิวซีแลนด์ก็มุ่งเน้นการเสริมประสิทธิภาพการทำงาน การ Upskilling และการวางกลยุทธ์ เพื่อความก้าวหน้าอย่างมั่นคง   

 

แม้แต่ละประเทศจะวางเป้าหมายแตกต่างกัน แต่การวางกลยุทธ์ที่เหมาะสมผนวกกับการใช้งาน GenAI ก็สามารถช่วยพัฒนาประสิทธิภาพแรงงาน ผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างโอกาสให้องค์กรเติบโตได้ 
AI's impact on industry requirements  

DE&I: ความหลากหลายที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ    

การให้ความสำคัญกับการทำงานที่ยืดหยุ่นและความหลากหลายในที่ทำงาน เป็นการแสดงให้เห็นว่าคนทำงานคาดหวังสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความเท่าเทียม และชั่วโมงการทำงานที่ไม่เคร่งครัดจากองค์กร   


สำหรับองค์กร
การฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับความหลากหลายที่เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับอคติที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว พร้อมกับสื่อสารอย่างโปร่งใส คือส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อใจและธรรมาภิบาลภายในองค์กร พร้อมกับสร้างความผูกพันที่พนักงานมีต่อองค์กร ผลักดันประสิทธิภาพการทำงาน และรักษาทาเลนท์คู่องค์กร   
DEI priorities across APAC

 

ปิดท้าย  

Mega Trend ระลอกใหม่อย่าง Digitalization การทำงานที่ยืดหยุ่น และการปรับใช้เทคโนโลยี AI ส่งผลให้แรงงานทั่วภูมิภาค APAC ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับผลิกโฉมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กร ซึ่งสร้างความท้าทายและสร้างโอกาสใหม่ๆ ในตลาดแรงงานไปพร้อมกัน  

ในโลกการทำงานยุคใหม่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในทุกขณะ องค์กรควรให้ความสำคัญกับการเปิดรับเทคโนโลยี GenAI และมุ่งเน้นนโยบาย DE&I อีกด้านหนึ่ง คนทำงานควรมุ่งมั่นพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับ AI และมองหาองค์กรที่มอบโอกาสเติบโตทางสายอาชีพ ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานที่เท่าเทียม