ทุกวันนี้คุณต้องคอยตอบแชท ตอบอีเมล หรือรับโทรศัพท์นอกเวลางานเป็นประจำรึเปล่าคะ ถ้าใช่คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมการทำงานแบบ always-on culture
always-on culture คืออะไร
always-on culture คือ วัฒนธรรมการทำงานที่พนักงานต้องสแตนด์บายพร้อมทำงานตลอดเวลา วัฒนธรรมนี้มาพร้อมกับความเจริญของเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถเปิดรับข้อมูลข่าวสารและติดต่อกันได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งรวมถึงเรื่องงานด้วย เรียกได้ว่าหากมือถือเรายังเปิด ก็แทบไม่สามารถปิดสวิทช์เรื่องงานได้เลย
always-on culture สาเหตุของภาวะหมดไฟ
ข้อดีของ always-on culture คือเราสามารถอัพเดทงานได้ตลอดเวลา ตอบสนองได้รวดเร็ว และสามารถทำงานได้จากทุกที่ แต่ข้อเสียของ always-on culture นั้นมีมากกว่า เพราะมันแย่งเวลาพักผ่อนไปจากเรา ทำให้ชีวิตไม่มี work-life balance เกิดความเครียดสะสม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนเข้าสู่ภาวะหมดไฟได้เร็วกว่าปกติ ผลสำรวจจากงานวิจัย Type and the always-on culture ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คนยังพบว่าพนักงาน 73 % ที่ทำงานภายใต้วัฒนธรรมแบบ always-on culture ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจิต โดย 28% รู้สึกว่าตัวเองต้องคอยพะวงเรื่องงานตลอดเวลา 26% พบว่างานส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวและชีวิตส่วนตัว และอีก 20% พบว่าตัวเองเครียด สุขภาพจิตแย่ลง อารมณ์เสียง่าย ความคิดสร้างสรรค์ลดลง
Adecco เชื่อว่าหลายๆ คนก็คงเคยประสบปัญหานี้ไม่ต่างกัน และก็อาจมีหลายคนที่กำลังหมดไฟเพราะ always on culture กันอยู่ เราจึงได้รวบรวมไอเดียแก้ปัญหานี้มาฝากกันค่ะ
วิธีแก้ปัญหา always-on culture
ปัญหาหลักๆ ของ always-on culture คือเรื่องการแยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน รวมถึงความคาดหวังในหน้าที่รับผิดชอบจากองค์กร การแก้ always-on culture จึงควรคือเป็นการร่วมมือแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างพนักงานและองค์กร
วิธีแก้ปัญหา always-on culture สำหรับองค์กร |
วิธีแก้ปัญหา always-on culture สำหรับพนักงาน |
สร้างและสนับสนุนวัฒนธรรมการทำงานที่อนุญาตให้พนักงานสามารถพักได้เต็มที่โดยไม่ถูกรบกวนนอกเวลางาน |
หาวิธีการที่จะทำให้ตัวเองไม่ต้องคอยพะวงเรื่องงาน หรือเช็คอีเมลอยู่เสมอ เช่น ปิดมือถือ แยกมือถือคนละเครื่องสำหรับเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว |
ชัดเจนเรื่องความคาดหวังในการตอบสนองของพนักงานทั้งในและนอกเวลางาน |
จัดสรรเวลาและตั้งกฎให้ตัวเองว่าเวลาไหนควรทำงาน เวลาไหนควรพัก และเมื่อพักจะทำอะไรบ้าง เพือแบ่งแยกตารางเวลาเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวออกจากกัน |
หัวหน้าต้องทำตัวเป็นแบบอย่างในการสร้างwork-life balance โดยติดต่อเรื่องงานเฉพาะเวลาทำงาน และเคารพเวลาส่วนตัวซึ่งกันและกัน |
สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าให้เข้าใจ ตรงกันถึงช่วงเวลาในการทำงาน และความคาดหวังในการตอบสนองนอกเวลางาน หากต้องการติดต่อต้องเป็นเฉพาะเรื่องที่จำเป็น หรือเร่งด่วนจริงๆ เท่านั้น |
สรุป
เแม้ว่าเรื่องงานจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่สุขภาพร่างกายและจิตใจของเราก็สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นไม่ว่าคุณจะทำอาชีพอะไรก็อย่าลืมแบ่งเวลาให้กับตัวเองและครอบครัว เพื่อรักษาสมดุลของชีวิต ไม่ให้เกิดความเครียดหรือส่งผลเสียต่อตนเองและคนใกล้ชิดในระยะยาว
ที่มา : themyerbriggs.com